ค้นหาข้อสอบ ในเว็บไซต์แห่งนี้

Friday, November 23, 2012

นโยบาย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา


นโยบาย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา

๑. นโยบายสานต่อแนวทางพระราชดำริ ๑.๑ ประสานและบริหารการจัดการน้ำ ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อปี ๒๕๓๘ เพื่อแก้ไขและป้องกันปัญหาอุทกภัยอย่างเป็นระบบ ๑.๒ พัฒนาขุดลอก คูคลองและจัดสร้างแหล่งน้ำ สงวนและเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตรเพื่อการอุปโภคและบริโภค รวมทั้งวางโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และน้ำแล้ง ๑.๓ พัฒนาชุมชนและสังคมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๒. นโยบายด้านการพัฒนาการศึกษา ๒.๑ ส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษา ๒.๒ พัฒนาและเตรียมบุคลากรด้านการศึกษา (ครู อาจารย์ นักเรียน) ให้เป็นผู้มีคุณภาพมีทักษะและศักยภาพตามมาตรฐานสากล ๒.๓ สนับสนุนให้มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือและประกอบการศึกษา ๒.๔ สนับสนุนศูนย์คอมพิวเตอร์ระดับชุมชนเพื่อเพิ่มทักษะประชาชนในชุมชน ๓. นโยบายด้านการพัฒนาการเกษตร ๓.๑ พัฒนา ปรับปรุงพันธุ์พืชและเมล็ดพันธุ์พืชที่ดีมีคุณภาพเพื่อเกษตรกรจะได้เพิ่มผลผลิต โดยส่งเสริมให้เกิดเกษตรอุตสาหกรรม ๓.๒ ลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร ๓.๓ สนับสนุนการจัดตั้งกองทุนเพื่อเกษตรกรในหมู่บ้าน (อกม.) ๓.๔ ส่งเสริมสนับสนุนการแปรรูปสินค้าทางการเกษตรอย่างมีคุณภาพนำเครื่องจักรและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและปริมาณสินค้าคุณภาพ ในท้องถิ่น ๓.๕ สนับสนุนการทำการเกษตรทางเลือก ๓.๖ ส่งเสริมประชาชนในท้องถิ่นให้มีการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจ เพื่อการบริโภคและเพื่อการอนุรักษ์ ๔. นโยบายด้านการพัฒนาสังคม ๔.๑ ส่งเสริมและพัฒนาบทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านและชุมชนให้เข้มแข็งเพื่อเป็นผู้นำการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นที่มีคุณภาพ ๔.๒ ส่งเสริมโครงการพัฒนาระดับหมู่บ้าน ๔.๓ ส่งเสริม พัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตของสตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสโดยการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมและดำเนินการให้เกิดกองทุน หรือจัดหางบประมาณเพื่อดำเนินการพัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่อง ๔.๔ ส่งเสริม พัฒนาคุณภาพของเด็กและเยาวชน เพื่อเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคมต่อไปในอนาคต ๔.๕ ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพและศักยภาพตามความสามารถของแรงงานในท้องถิ่น ๔.๖ ดำเนินการ สนับสนุน และประสานการปฏิบัติเพื่อป้องกันและให้มีการปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเสพ การผลิต การจำหน่ายยาเสพติดในทุกระดับ ๔.๗ ดำเนินการโครงการ อบจ.สัญจรเพื่อให้บริการประชาชน และรับทราบปัญหา อุปสรรค และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ๔.๘ ส่งเสริมและประกาศเกียรติคุณผู้ที่เป็นแบบอย่างที่ดี และสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคม รวมทั้งจัดสร้างหอเกียรติยศ ( Hall of Fame ) เพื่อประกาศเกียรติคุณ ผู้มีคุณูปการ และสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดนครราชสีมา ๕. นโยบายด้านการพัฒนาสาธารณสุข ๕.๑ สนับสนุนการจัดตั้งกองทุน และเพิ่มสวัสดิการเพื่อพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน(อสม.) ๕.๒ ส่งเสริมและสนับสนุนให้การรักษาพยาบาลประชาชนในระดับตำบล หมู่บ้านและชุมชนที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี ทั่วถึงและทันเหตุการณ์ โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง ๕.๓ ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยของประชาชนในระดับหมู่บ้านและชุมชน ให้มีสุขภาพแข็งแรง โดยให้การเรียนรู้การดูแลสุขภาพ การออกกำลังกาย การป้องกันโรค การใช้ยาอย่างถูกต้อง และการเข้ารับการตรวจสุขภาพหรือการรับบริการด้านสาธารณสุขตามขั้นตอนและวิธีการทางการแพทย์ ๖. นโยบายด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ๖.๑ ส่งเสริมสนับสนุนการวางระบบการพัฒนาด้านโครงสร้างคุณภาพชีวิตพื้นฐาน ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของประชาชนในการ ดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ๖.๒ ก่อสร้าง ปรับปรุงเส้นทางการคมนาคมอย่างทั่วถึง ให้สามารถตอบสนองความต้องการ และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะเส้นทาง การขนส่งผลผลิตทางการเกษตร แหล่งท่องเที่ยว และพื้นที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของประชาชน ๖.๓ ประสาน สนับสนุน ร่วมมือกับส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ เพื่อสนับสนุนเครื่องมือ เครื่องจักรกล ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานที่มีความ ชำนาญในการก่อสร้าง ปรับปรุง เส้นทางคมนาคม ๖.๔ ประสานในการแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนของประชาชนในด้านสาธารณูปโภค ๖.๕ ดำเนินการปรับปรุงระบบขนส่งในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจร ความปลอดภัยและความเป็น ระเบียบในการให้บริการแก่ประชาชน ๗. นโยบายด้านการพัฒนาการท่องเที่ยว ศาสนา-วัฒนธรรมประเพณี และกีฬา ๗.๑ พัฒนาฟื้นฟูและส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชนท้องถิ่นโคราช เพื่อการอนุรักษ์สืบสานและเชื่อมโยงสู่กิจกรรมการท่องเที่ยว ๗.๒ พัฒนาและฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเดิม สร้างแหล่งท่องเที่ยวใหม่ รวมทั้งกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวของจังหวัดนครราชสีมาเพิ่มขึ้น โดยร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหน่วยงานและส่วนราชการ ตลอดจน องค์กรภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ๗.๓ สนับสนุนและส่งเสริมความสามารถของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว และสร้างเครือข่าย เพื่อพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ โดยการจับคู่ธุรกิจพัฒนา คุณภาพสินค้าและขยายตลาดสินค้าทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ๗.๔ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมลานกีฬาชุมชน และจัดการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านจนถึงระดับจังหวัด เพื่อให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา เกิดความสนใจและมีแรงจูงใจในกิจกรรมกีฬารวมถึงการสร้างความเป็นเลิศทางด้านกีฬาสู่กีฬาอาชีพในระดับชาติและนานาชาติ ๘. นโยบายด้านการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ๘.๑ ปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้รองรับการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามที่กฎหมายกำหนดอย่างมีประสิทธิภาพ ๘.๒ นำระบบสารสนเทศมาใช้ในการบริหารงานภายในองค์กร เพื่อให้บริการกับประชาชนให้สะดวก รวดเร็ว แม่นยำ โดยยึดถือประโยชน์สูงสุดของประชาชน ผู้รับบริการเป็นสำคัญ ๘.๓ สนับสนุนบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ให้ได้รับการศึกษา อบรม การทำวิจัย เพิ่มพูนความรู้ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพ การทำงานให้ เกิดประสิทธิผลในการบริการประชาชน ๘.๔ บูรณาการการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาท้องถิ่น สร้างประโยชน์สูงสุดแก่ ประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา ๘.๕ เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และความต้องการ ของประชาชนในการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ๙. นโยบายด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ๙.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนการติดตั้งระบบเตือนภัยธรรมชาติ และภัยพิบัติต่างๆ ๙.๒ ส่งเสริมสนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ หน่วยงาน มูลนิธิการกุศลและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการเตรียมความพร้อมในการป้องกันภัย และการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ๙.๓ ส่งเสริมและสนับสนุนการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดในเขตชุมชน และสถานที่สำคัญ เพื่อสร้างความอบอุ่นใจ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ๙.๔ สนับสนุนการฝึกอบรมจัดตั้งและอบรมฟื้นฟูตำรวจบ้าน และอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) เพื่อเป็นกำลังสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐ และดูแลรักษา ความปลอดภัยและการจราจรในชุมชนหมู่บ้าน ๑๐. นโยบายด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ๑๐.๑ ส่งเสริมสนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ในการพัฒนาฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งน้ำ ลุ่มน้ำลำคลอง และป่าไม้ให้มีความ อุดมสมบูรณ์ ๑๐.๒ ส่งเสริมสนับสนุนและร่วมมือกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชน ในการรณรงค์สร้างจิตสำนึก เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษและ ปัญหาสิ่งแวดล้อมของชุมชนท้องถิ่นทุกระดับ ๑๐.๓ ส่งเสริมสนับสนุนและสร้างความร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำระบบกำจัดขยะรวม เพื่อจัดการขยะมูลฝอยและ สิ่งปฏิกูลอย่างเป็นระบบ นโยบายที่ได้แถลงต่อสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมานี้ ยึดมั่นอยู่ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เพื่อดำรง ไว้ซึ่งสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และเป็นนโยบายซึ่งสานต่อนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น โดยตั้งมั่นอยู่บนพื้นฐานของการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล ทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต มีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้สร้างความเป็นธรรมในระบบการบริหารงาน เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ให้เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า ซึ่งความสำเร็จ ที่จะบังเกิดขึ้นก็ด้วยความ สนับสนุน จากท่านสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาทุกท่าน

Sunday, November 4, 2012

แจกVDOติวสอบบรรจุครูปี53


ด่วน แจกVDOติวสอบบรรจุครูปี53
ยังไงก็รีบๆหน่อยนะครับเดี๋ยวไฟล์หมดอายุก่อน
แนะนำให้ใช้โปรแกรมช่วยดาวน์โหลดนะครับจะได้ไม่เสียเวลามากครับ
โปรแกรมช่วยดาวน์โหลดพร้อมคู่มือนะครับ www.ziddu.com/download/9633113/IDM.rar.html
ไว้เปิดฟัง เปิดดูสำหรับคนขี้เกียจอ่าน ไฟล์ใหญ่หน่อย พยายามโหลดเอานะครับ
เพราะคนแจกก็กว่าจะเอาขึ้นเน็ตได้ เพื่อพี่น้อง เพื่อน ว่าที่ครูทั้งหลาย
ไฟล์ที่ 1 www.ziddu.com/download/9618575/VTS_01_1.part01.rar.html
ไฟล์ที่ 2 www.ziddu.com/download/9619838/VTS_01_1.part02.rar.html
ไฟล์ที่ 3 www.ziddu.com/download/9619839/VTS_01_1.part03.rar.html
ไฟล์ที่ 4 www.ziddu.com/download/9620893/VTS_01_1.part04.rar.html
ไฟล์ที่ 5 www.ziddu.com/download/9620892/VTS_01_1.part05.rar.html
ไฟล์ที่ 6 www.ziddu.com/download/9630556/VTS_01_1.part06.rar.html
ไฟล์ที่ 7 www.ziddu.com/download/9630934/VTS_01_1.part07.rar.html
โหลดไปแล้วต้องรวมไฟล์ก่อนนะครับถึงจะเปิดดูได้
ใครรวมไฟล์ไม่เป็นถาม google นะครับ

แนวข้อสอบวินัยและการรักษาวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

1. วินัยคืออะไร
ก. ระเบียบแบบแผนที่ข้าราชการควรประพฤติปฏิบัติ
ข. ระเบียบแบบแผนที่ข้าราชการต้องประพฤติปฏิบัติ
ค. ระเบียบแบบแผนที่ข้าราชการยึดประพฤติปฏิบัติ
ง. ถูกทุกข้อ
2. ข้อใดกล่าวผิดลักษณะความผิดเกี่ยวกับวินัยข้าราชการ
ก. ไม่มีอายุความ ข. ยอมความกันไม่ได้
ค. ไม่อาจชดใช้ด้วยเงินเพื่อลบล้างความผิด ง. ไม่มีข้อใดกล่าวผิด
3. วินัยและการรักษาวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากำหนดไว้ในกฎหมายใด
ก. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
ข. พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
ค. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547
ง. ถูกทุกข้อ
4. จากข้อ 3 ได้กำหนดไว้ในหมวดใด
ก. หมวด 3 ข. หมวด 4
ค. หมวด 5 ง. หมวด 6
5. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเห็นว่าคำสั่งของผู้บังคับบัญชาจะทำให้เสียหายทางราชการ จะต้องทำอย่างไร
ก. ปฏิบัติตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด
ข. เสนอผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งทันที
ค. เสนอผู้บังคับบัญชาทบทวนคำสั่งภายใน 7 วัน
ง. ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น
6. ข้อใดไม่เป็นความผิดทางวินัยร้ายแรง
ก. ไม่สนับสนุนการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ข. ลอกเลียนแบบผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบ
ค. กดขี่ หรือขมเหงผู้เรียน
ง. ทุจริตต่อหน้าที่ราชการ
7. ความผิดทางวินัยในกรณีใดถือว่าเป็นความผิดร้ายแรงที่สุด
ก. การจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือระเบียบของทางราชการ
ข. การไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดีต่อข้าราชการ
ค. การเปิดเผยความลับของทางราชการซึ่งไม่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อราชการ
ง. การละทิ้งหน้าที่ราชการเกิน 15 วันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
8. ข้อใดเป็น กรณีความผิดที่ปรากฏชัดแจ้ง
ก. ละทิ้งหน้าที่ราชการในคราวเดียวกันเกินกว่า 15 วันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
ข. เล่นการพนัน
ค. เมาสุราจนครองสติไม่ได้
ง. เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
9. ข้าราชการครูผู้ใด ทอดทิ้งราชการ
ก. นายพรชัย ลากิจโดยไม่จำเป็น 10 วัน
ข. นายเสงี่ยม ไม่มาปฏิบัติราชการ 10 วัน
ค. นายวิรัตน์ มาโรงเรียนแต่ไม่สอนนักเรียน
ง. เป็นผู้ทอดทิ้งราชการทุกข้อที่กล่าวมา
10. ข้าราชการครูผู้ใดถือว่าประพฤติชั่ว
ก. นายนิตย์เล่นการพนันหวยใต้ดิน
ข. นายสมปองเมาสุราจนครองสติไม่ได้
ค. นางสาว ก หายรายได้พิเศษโดยเป็นนักเต้นโคโยตี้
ง. เป็นผู้ประพฤติชั่วทุกคนที่กล่าวมา
11. ข้อใดเป็นความผิดลหุโทษ
ก. ความผิดที่ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
ข. ความผิดที่ต้องการระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ค. ความผิดที่ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน
ง. ความผิดที่ต้องการระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน
12. โทษทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีกี่สถาน
ก. 3 สถาน ข. 4 สถาน
ค. 5 สถาน ง. 6 สถาน
13. ข้อใดเป็นโทษทางวินัยที่เบาที่สุด
ก. ภาคทัณฑ์ ข. ตัดเงินเดือน
ค. ว่ากล่าวตักเตือน ง. ทำทัณฑ์บน
14. ข้อใดไม่เป็นโทษทางวินัยของขาราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ก. ภาคทัณฑ์ ข. ตัดเงินเดือน
ค. ว่ากล่าวตักเตือน ง. ทำทัณฑ์บน
15. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ผู้ถูกลงโทษไล่ออกมีสิทธิ์ได้เฉพาะบำเหน็จ
ข. ผู้ถูกลงโทษปลดออกมีสิทธิ์ได้บำเหน็จบำนาญ
ค. ผู้ถูกลงโทษให้ออกสิทธิ์ได้บำเหน็จบำนาญ
ง. ผู้ถูกลดขั้นเงินเดือนมีสิทธิ์ได้บำเหน็จบำนาญ
16. ข้อใดเป็นโทษทางวินัยร้ายแรง
ก. ให้ออก ไล่ออก ข. ปลดออก ไล่ออก
ค. ลดขั้นเงินเดือน ปลดออก ไล่ออก ง. ให้ออก ปลดออก ไล่ออก
17. กระทำผิดวินัยลักษณะใดไม่ต้องตั้งกรรมการสอบสวนก็ได้
ก. ร้ายแรง ข. ปรากฏชัดแจ้ง
ค. ร้ายแรงและปรากฏชัดแจ้ง ง. ไม่มีข้อถูก
18. ผู้มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการสอบสวนกรณีที่ครูในสถานศึกษาถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยร้ายแรงคือใคร
ก. ผู้อำนวยการสถานศึกษา ข. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ง. ก.ค.ศ.
19. นายวิโรจน์ ตำแหน่งครูชำนาญการถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดไม่ร้ายแรง ผู้มีอำนาจแต่งตั้งกรรมการสอบสวนกรณีดังกล่าวคือใคร
ก. ผู้อำนวยการสถานศึกษา ข. ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ค. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ง. ก.ค.ศ.
20. ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากระทำผิดวินัยไม่ร้ายแรงผู้บังคับบัญชา จะลงโทษอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับความคิด
ก. ภาคทัณฑ์ ข. ตัดเงินเดือน
ค. ลดขั้นเงินเดือน ง. สั่งลงโทษตามข้อ ก ข ค แล้วแต่กรณี

Wednesday, October 10, 2012

สมรรถนะ (Competency)

  สมรรถนะ (Competency) ความเป็นมาของสมรรถนะ
               แนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะ (Competency) ได้เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1970 โดยสำนักงานข่าวสารแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ว่าจ้างบริษัท Mcber ภายใต้การนำของศาสตราจารย์ Dr. David C. McClelland นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ให้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาการคัดเลือกบุคลากรขององค์การ โดยสร้างและพัฒนาเครื่องมือเพื่อคัดเลือกบุคลากรแทนแบบทดสอบชุดเก่า ซึ่งพบว่าผู้ที่ทำคะแนนสอบสูงบางคนมีผลการปฏิบัติงานต่ำกว่ามาตรฐานที่องค์กรคาดหวัง แต่บางคนที่มีผลคะแนนสอบไม่ค่อยสูงมากนัก แต่กลับมีผลการปฏิบัติงานที่สูงกว่ามาตรฐาน 
                       David C. McClelland เริ่มทำการศึกษาวิจัย โดยสัมภาษณ์ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคลของสำนักงานข่าวสารแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้บริหารระดับสูง และพนักงานระดับผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งต่าง ๆ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Event Interview : BEI) ซึ่งเป็นเทคนิคการสัมภาษณ์ที่สอบถามผู้ถูกสัมภาษณ์ด้วยคำถาม 6 ข้อ คือ สอบถามเกี่ยวกับประสบการณ์ทำงานที่ประสบความสำเร็จ 3 ข้อ และประสบการณ์การทำงานที่ล้มเหลว 3 ข้อ นำข้อมูลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ เพื่อค้นหาลักษณะของพฤติกรรมของพนักงานทั้ง 2 กลุ่ม โดย David C. McClelland เรียกคุณลักษณะของพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดผลการปฏิบัติงานที่สูงกว่ามาตรฐาน (Superior performance) นี้ว่าสมรรถนะ (Competencey) 
                      “สมรรถนะ” เป็นตัวทำนายความสำเร็จในการทำงานของบุคลากรในตำแหน่งหนึ่ง ๆ ได้ดีที่สุด และมีความเบี่ยงเบนหรืออคติน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการคัดเลือกแบบเก่า ๆ 
 สมรรถนะประยุกต์ใช้ในการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานราชการในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยกำหนดปัจจัยพื้นฐานว่าในตำแหน่งหนึ่ง ๆ นั้น บุคคลจะต้องมีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะอะไรบ้างและอยู่ในระดับใดจึงจะทำให้บุคคลนั้นปฏิบัติงานให้ได้ผลดี และบรรลุเป้าหมายขององค์กร 
ประเทศไทย องค์กรธุรกิจหลายแห่งนำระบบสมรรถนะมาใช้ เช่น บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทเอไอเอส จำกัด (มหาชน) กลุ่มบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท โตโยต้ามอร์เตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
                    ปัจจุบันเอกชน รัฐวิสาหกิจ กำลังให้ความสนใจพัฒนาระบบสมรรถนะสำหรับภาคราชการให้ความสนใจในการนำระบบสมรรถนะมาใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคล
ความหมายของสมรรถนะ
David C. McClelland ให้คำจำกัดความไว้ว่า Competency คือ บุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในปัจเจกบุคคล ซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้นสร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีหรือตามเกณฑ์ที่กำหนดในงานที่ตนรับผิดชอบ
                     สมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะเชิงพฤติกรรมที่เป็นผลมาจากความรู้ ทักษะ ความสามารถและคุณลักษณะอื่น ๆ ที่ทำให้บุคคลสามารถสร้างผลงานได้โดดเด่นกว่าเพื่อนร่วมงานอื่น ๆ ในองค์กร
สมรรถนะ หมายถึง ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะเชิงพฤติกรรมของบุคคลซึ่งจำเป็นต้องมีในการปฏิบัติงานตำแหน่งหนึ่ง ๆ ให้ประสบความสำเร็จและได้ผลงานสูงกว่ามาตรฐานกำหนด
สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกมาจากความรู้ความสามารถ ทักษะ ทัศนคติ ตลอดจนลักษณะภายในที่ผู้บริหารสถานศึกษาพึงมี เป็นพื้นฐานและใช้ในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ ทำให้ได้ผลงานสูงสุด ทำให้เกิดความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีต่อองค์กร ส่งผลให้เกิดภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ต่อวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา โดยสอดคล้องกับความต้องการของสังคม วิชาชีพ นโยบายขององค์การ และสถานการณ์แวดล้อม
                                                       องค์ประกอบของสมรรถนะ
                         “Competency” หมายถึง “บุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในปัจเจกบุคคล ซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้นสร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีหรือตามเกณฑ์ที่กำหนดในงานที่ตนรับผิดชอบ”
David C. McClelland ได้อธิบายความหมายขององค์ประกอบทั้ง 5 ส่วนไว้ดังนี้
1.  ทักษะ (Skill) หมายถึง สิ่งที่บุคคลกระทำได้ดี และฝึกปฏิบัติเป็นประจำจนเกิดความชำนาญ
2.  ความรู้ (Knowledge) หมายถึงความรู้เฉพาะด้านของบุคคล
3.  ทัศนคติ (Self-concept) หมายถึง ทัศนคติ ค่านิยม และความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ของตนหรือสิ่งที่บุคคลเชื่อว่าตนเองเป็น
4.  บุคลิกลักษณะ (Traits) หมายถึง บุคลิกลักษณะประจำตัวของบุคคล เป็นสิ่งที่อธิบายถึงบุคคลผู้นั้น
5.  แรงจูงใจ (Motives) หมายถึง แรงจูงใจหรือแรงขับภายในซึ่งทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมที่มุ่งไปสู่สิ่งที่เป็นเป้าหมาย
                       Spencer & Spencer อธิบายสมรรถนะด้วยโมเดลภูเขาน้ำแข็ง (Iceberg Model) คุณลักษณะของบุคคลนั้นเปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในน้ำ โดยมีส่วนหนึ่งที่เป็นส่วนน้อยลอยอยู่เหนือน้ำ ได้แก่ องค์ความรู้ และทักษะได้แก่ความเชี่ยวชาญ ชำนาญพิเศษ สังเกตได้งานและพัฒนาได้ง่าย ส่วนที่อยู่ใต้น้ำเป็นส่วนที่มีปริมาณมากกว่า สังเกตและพัฒนาได้ยากกว่า และเป็นส่วนที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของบุคคลมากกว่า การทำให้เขาเป็นผู้มีผลการปฏิบัติงานที่โดดเด่น บุคคลจำเป็นต้องมีแรงผลักดันเบื้องลึก อุปนิสัย ภาพลักษณ์ภายในและบทบาทที่แสดงออกต่อสังคมที่เหมาะสม David C. McClelland พบว่า competency สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม
           1.  Competency ขั้นพื้นฐาน หมายถึง ความรู้ หรือทักษะพื้นฐานที่บุคคลจำเป็นต้องมีในการทำงาน ซึ่งไม่ทำให้บุคคลมีผลงานที่แตกต่างจากผู้อื่น
            2.  Competency ที่ทำให้บุคคลแตกต่างจากผู้อื่น หมายถึง ปัจจัยที่ทำให้บุคคลที่มีผลการทำงานสูงกว่ามาตรฐาน คุณลักษณะอื่น ๆ ค่านิยม แรงจูงใจ ทัศนคติ
 ประเภทของสมรรถนะ
          1.  สมรรถนะหลัก (Core Competency) เป็นคุณสมบัติของข้าราชการหรือพนักงานทุกคนต้องมี เพื่อให้บรรลุความสำเร็จขององค์การ เช่น ความรอบรู้เกี่ยวกับองค์การ ความซื่อสัตย์ ความใฝ่รู้ ความรับผิดชอบ ความคิดเชื่อมโยง
         2.  สมรรถนะในงานหรือสมรรถนะที่เกี่ยวกับงาน (Functional Competency) เป็นสมรรถนะที่เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านนั้น ๆ พึงมี เพื่อให้งานสำเร็จและได้ผลผลิตตามที่ต้องการ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ
                   2.1  สมรรถนะร่วมของทุกตำแหน่งในกลุ่มงาน (Common Functional Competency) เป็นคุณลักษณะที่บุคคลในทุกตำแหน่งในกลุ่มงานเดียวกันต้องมี
                    2.2  สมรรถนะเฉพาะของตำแหน่งงาน (Specific Functional Competency) เป็นคุณลักษณะเฉพาะของแต่ละตำแหน่งในกลุ่มงานนั้น ๆ

Friday, June 29, 2012

ผลสอบบรรจุครูผู้ช่วย 2555


บัญชีรายชื่อผู้สอบแข่งขันได้เพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ 
เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย  ครั้งที่ 1/2555 

(อัพเดทรวดเร็วกว่าทุกเว็บ ว่าที่ครูผู้ช่วยทุกๆท่าน สามารถติดตามได้ที่นี่ บล๊อกครูไทบ้าน)


  ผลสอบครูผู้ช่วย ผลสอบครูผู้ช่วย 2555 อัพเดท!!! ผลสอบครูผู้ช่วย 2555 

Saturday, June 23, 2012

แนวสอบครู ตอน ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาชีพครู (100ข้อพร้อมเฉลย)

แนวข้อสอบครูผู้ช่วย วิชาการศึกษา 1

1. ข้อใดเป็นเป้าหมายสูงสุดการปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ 
ก. เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข(คุณภาพของคนไทย) 
ข.ในกระบวนการเรียนรู้มุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง 
ค. การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมผู้เรียนพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ 
ง. การจัดการศึกษาทั้ง 3 รูปแบบ ต้อนงเน้นความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้บูรณาการตามความเหมาะสม 
จ. การจัดการะบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ต้องจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 
2. หลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญข้อใด 
กล่าวผิด 
ก. จัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล 
ข. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง 
ค. จัดกิจกรรมให้ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ 
ง. จัดกิจกรรมผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ 
ได้สัดส่วนสมดุล 
จ. จัดกิจกรรมควรคำนึงถึงวามถนัดของครู 
3. ความหมายของการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ข้อใดกล่าวถูก 
ก. เป็นการเรียนรู้ที่มุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน 
ข. สนองความแตกต่างระหว่างบุคคล 
ค. ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง 
ง. มีทักษะการแสวงหาความรู้ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ 
จ. ถูกทุกข้อ 
4. จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนพัฒนาเต็มตามศักยภาพ ครูผู้สอนตัองคำนึงถึง ยกเว้น 
ก. วุฒิภาวะทางอารมณ์(Emotional Quotient) 
ข. พหุปัญญา(Multiple Intelligenose) 
ค. วิธีการเรียนรู้ของแต่ละคน 
ง. ผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเรียนในสิ่งที่สนองความต้องการ 
จ. ความสนใจ ความถนัด สภาพความเป็นอยู่และครอบครัว 
5. ข้อใดไม่ใช่การเรียนรู้ 5 ลักษณะ ตามแนวการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
ก. เรียนรู้อย่างมีความสุข 
ข. เรียนรู้จากการคิดและปฏิบัติจริง 
ค. การเรียนรู้แบบสืบสวน 
ง. การเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น 
จ.เรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง 
6.บทบาทผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญของผู้ปกครอง ข้อใดกล่าวผิด 
ก.สนับสนุนกิจกรรมของสถานศึกษา 
ข. เป็นเวทีการเรียนรู้ 
ค. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ภายในบ้าน 
ง. ร่วมตัดสินใจเลือกแผนการเรียนรู้ 
7. ตัวบ่งชี้ที่บอกให้รู้ว่าครูจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ข้อใดกล่าวผิด 
ก. มีการจัดกิกกรรมหลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติผู้เรียน 
ข. มีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนฝึกค้นคว้า สังเกต รวบรวมข้อมูล สังเคราะห์ คิด อย่างหลากหลาย สร้างความรู้ด้วยตนเอง 
ค. มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีและสื่อที่เหมาะสมมาใช้ 
ง. มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ไม่หลากหลาย ไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 
จ. มีการจัดกิจกรรมเพื่อฝึกและส่งเสริมคุณธรรมละจริยธรรมของผู้เรียน 
8. เป็นลักษณะกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ ยกเว้น 
ก. แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย 
ข. การประเมินผลหลากหลาย 
ค.รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย 
ง. หลักสูตร ครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ชุมชน มีส่วนร่วม 
จ. เพื่อให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข 
(คุณภาพของคนไทย) 
9. เป้าหมายสูงสุดของการปฏิรูปการเรียนรู้ ผู้เรียน มีลักษณะตรงกับข้อใด 
ก. เพื่อให้เป็นคนดี 
ข. เพื่อให้เป็นคนเก่ง 
ค. เพื่อให้เป็นคนที่มีความสุข 
ง. เพื่อให้เป็นคนดี คนเก่ง 
จ. เพื่อให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข 
(คุณภาพของคนไทย) 
10. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สัมพันธ์กับทุกข้อยกเว้น 
ก. จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างครบวงจร 
ข. วงจรการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเชื่อมโยงบูรณาการและ ประยุกต์ใช้ความรู้ 
ค. ประเมินผู้เรียนพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียนด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย 
ง. จัดหลักสูตรได้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น 
จ. จัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ด้วยรูปแบบวิธีการเทคนิคที่หลากหลาย 
11. ตามหลักสูตร 2551 กระบวนการเรียนรู้ให้ความสำคัญเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ข้อใดเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
ก. กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ 
ข. กระบวนการคิด 
ค. กระบวนการทางสังคม 
ง. กระบวนปฏิบัติลงมือทำจริง 
จ. ถูกทุกข้อ 
12. ก่อนออกแบบการเรียนรู้ผู้สอนต้องทำความเข้าใจก่อน ข้อใดไม่ถูกต้อง 
ก. มาตรฐานการเรียนรู้ ข . ตัวชี้วัด 
ค. เทคนิควิธีสอน ง. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 
จ. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน 
13. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ข้อใดไม่ใช่บทบาทครูผู้สอน 
ก. จัดบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ 
ข. จัดเตรียมและเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับกิจกรรม 
ค. ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล 
ง. ลงมือปฏิบัติจริง สรุปสิ่งที่ได้เรียนด้วยตนเอง 
จ. ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีที่หลากหลาย 
14. การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างความคิดและนำความคิดตนเองไปสร้างชิ้นงานโดยอาศัยสื่อ เทคโนโลยีที่เหมาะสมทำให้เห็นความคิดเป็นรูปธรรมชัดเจน เมื่อสร้างสิ่งใดขึ้นมาหมายถึงการสร้างความรู้ขึ้นใน 
ตนเอง และมีความหมายต่อผู้เรียน ครูทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนของผู้เรียน ให้คำปรึกษาชี้แนะ เกื้อหนุนการเรียนของผู้เรียนเป็นสำคัญ การประเมินผลเน้นที่ประเมินกระบวนการและผลงาน ประเมินหลากหลาย เป็นแนวคิดของการจัดการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่สัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด 
ก. Consturetivism 
ข. Integration 
ค. Co – operatire Learning 
ง. Tochnogy Related Instruet 
จ. Experimental Instruction 
15.เป็นทฤษฏีทีให้ความสำคัญกับกระบวนการ และวิธีการเรียนของบุคคลในการสร้างความรู้จากประสบการณ์ โดยใช้กระบวนการทางปัญญาผู้เรียนได้สาธิต กระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลายจัดกระทำข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ โดยผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง จะสำเร็จมากน้อยขึ้นอยู่กับบทบาทของครู ท่านคิดว่าเป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด 
ก. Consturetivism 
ข. Integration 
ค. Co – operatire Learning 
ง. Tochnogy Related Instruet 
จ. Experimental Instruction 
16. ส่งเสริมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนปฏิบัติงานเป็นกลุ่มเล็กๆโดยสมาชิกแต่ละกลุ่มมีความรู้ความสามารถแตกต่างกัน แต่ละคนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เป็นกำลังใจให้กันและกัน คนเก่งช่วยเหลือคนอ่อนกว่า ร่วมรับผิดชอบสมาชิกในกลุ่ม ความสำเร็จของแต่ละบุคคลคือความสำเร็จของกลุ่ม ส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะ พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ประเมินผลทั้งปริมาณและคุณภาพ 
ด้วยวิธีหลากหลาย มีองค์ประกอบการเรียน 5 ประการ ได้แก่ พึ่งพากัน หันหน้าเข้าหากันปรึกษากันอย่างใกล้ชิดอาศัยทักษะทางสังคม วิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม มีผลงานรายบุคคลและรายกลุ่ม นอกจากนี้ยังส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียนสัมพันธ์กับการเรียนรู้แบบใดมากที่สุด 
ก. Consturetivism 
ข. Integration 
ค. Co – operatire Learning 
ง. Tochnogy Related Instruet 
จ. Experimental Instruction 
17.ข้อใดไม่ใช่การเรียนรู้แบบร่วมมือ 
ก. Student Teame Achievement 
ข. Team Game Tournament 
ค. Team Assited Individualization 
ง. Jigsaaw 
จ. Projeet based Learning 
18. ข้อใดไม่ใช่การเรียนรู้แบบร่วมมือ 
ก. Group Investigations ข. Learning together 
ค. Team Interview ง. Integration 
จ. Gooperative Integrated Reading and composition 
19. ผู้เสนอการสอนแบบ Thint pair Share 
ก. John Hopkirn ข. Spencer Kagan 
ค. Robert Slavin ง.Elliont A ronson 
20.ผู้เสนอการเรียนรู้แบบ CIRC 
ก. Stevens and other 
ข.Darid lohnson and Robert Johnson 
ค. Ausubel และ Piaget 
ง. john Dewey(สอนแก้ปัญหา) 
จ. D Bono 
21. การจัดการเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ ซึ่งแบ่งออกเป็นกี่ประเภท 
ก. 7 ประเภท ข. 6 ประเภท 
ค. 5 ประเภท ง. 4 ประเภท 
จ. 3 ประเภท 
22. ข้อใดไม่ใช่การจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคโนโลยี 
ก. ศูนย์การเรียน ข. ชุดการสอน 
ค. computer Assisted instrunction ง. E – learning 
จ. Role playing 
23. ข้อใดไม่ใช่การจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ 
(Experimenta Instraetion) 
ก. Dramatization ข. Simulation 
ค. Game ง. Integration 
จ. Experiential Activities plahning:EPA 
24. กระบวนการแก้ปัญหา มี 5 ขั้นตอน ข้อใดไม่ใช่ 
ก. สังเกต ข. รายงาน 
ค. สร้างทางเลือก ง. เก็บข้อมูลประเมินทางเลือก 
จ. สรุป 
25. กระบวนการคิดสร้างสรรค์ มี 5 ขั้นตอน ข้อใดไม่ใช่ 
ก. พบความจริง ข.ค้นพบปัญหา 
ค. ค้นพบสมมติฐาน ง. สรุป 
จ. ค้นพบคำตอบ 
26.การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล สัมพันธ์กับข้อใดมากที่สุด 
ก.การเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา 
ข. รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหา ค. การใช้ปัญหาเป็นฐาน ง. การเรียนรู้แบบโครงงาน จ.การเรียนรู้เน้นการปฏิบัติ 
27. ข้อใดไม่ใช่พหุปัญญา 
ก. verbal intellingence ข. Logical intelligence 
ค. visual intelligence ง. Intrapersonal intelligence 
จ. Project 
28. สังคมต้องมีบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย 
ตรงกับข้อใด 
ก. การเรียนรู้แบบบูรณาการสู่พหุปัญญา 
ข. รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหา 
ค. การใช้ปัญหาเป็นฐาน 
ง.การเรียนรู้แบบโครงงาน 
จ.การเรียนรู้เน้นการปฏิบัติ 
29. เริ่มต้นจากปัญหาแล้วให้ผู้เรียนมุ่งทำหาคำตอบด้วยตนเองหรือเป็นกลุ่ม สอดคล้องกับข้อใด 
ก. แบบโครงงาน ข. แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 
ค. เน้นการปฏิบัติ ง.แบบร่วมมือ จ.แบบคิดสร้างสรรค์ 
30. ข้อใดเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน 
ก. ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง 
ข. จัดกลุ่มขนาดเล็ก 3 – 5 คน 
ค. ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก 
ง. ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น 
จ. ถูกทุกข้อ 
31. การจัดการเรียนรู้เน้นกระบวนการแก้ปัญหามี 5 ขั้นตอน 
ข้อใดไม่ใช่ 
ก. สังเกต ข. สร้างทางเลือก ค. วิเคราะห์ 
ง. เก็บข้อมูล จ. รายงานผล 
32. การจัดกิจกรรมในแหล่งเรียนรู้ ผู้สอนควรออกแบบการเรียนรู้คำนึงถึงสิ่งใด 
ก. แหล่งเรียนรู้จัดในประเภทใด ข. เป็นองค์ความรู้เรื่องใด 
ค. วัตถุประสงค์การจัดทำ 
ง. มีกิจกรรมเนื้อหาสอดคล้องกับวิชาใด จ. ถูกทุกข้อ 
33. ข้อใดเป็นประโยชน์ของแหล่งเรียนรู้ 
ก. เป็นส่วนเสริมในการเรียน ข. เสริมสร้างความสนใจ 
ค. ช่วยให้ผู้เรียนได้สนุกสนาน ง. ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ 
จ. ถูกทุกข้อ 
34. กระบวนการทางปัญญาระดับสูง ที่ใช้กระบวนการทางความคิดหลายๆ อย่างมารวมกัน เ พื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ตรงกับข้อใด 
ก. ความหมายความคิดสร้างสรรค์ 
ข. แนวทางในการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ 
ค. วิธีสอนความคิดสร้างสรรค์ 
ง. การสอนความคิดสร้างสรรค์ของครู 
35. เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้ผู้เรียนเลือกและสร้างกระบวนการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างลุ่มลึกและสามารถนำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้เป็นการเรียนรู้แบบใด 
ก. แหล่งเรียนรู้ ข. โครงงาน 
ค. ความคิดสร้างสรรค์ ง. การสอนแบบบูรณาการ 
จ. กระบวนการแก้ปัญหา 
36. เป็นการนำเอาความรู้ สาขาวิชาต่างๆ ที่สัมพันธ์กันมาผสมผสานกัน เพื่อให้การจัดการเรียนรู้ เกิดประโยชน์สูงสุดของการเรียนเน้นองค์รวมของเนื้อหามากกว่าองค์ความรู้ของแต่ละวิชาตรงกับข้อใด 
ก.แหล่งเรียนรู้ ข. โครงงาน 
ค. ความคิดสร้างสรรค์ ง. การสอนแบบบูรณาการ จ. กระบวนการแก้ไข 
37.ข้อใดไม่ใช่ระดับการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลาง 51 
ก. ระดับประถมศึกษา 
ข.ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 
ค.ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 
ง. ระดับมัธยม 
จ. ถูกทุกข้อ 
38. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ จัดเวลาตามข้อใดถูกต้อง 
ก. ระดับประถม รวม 6 ปี จำนวน 60 ชั่วโมง 
ข. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น รวม 3 ปี จำนวน 45 ชั่วโมง 
ค.ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวม 3 ปี จำนวน 60 ชั่วโมง 
ง.ระดับมัธยมศึกษา รวม 3 ปี จำนวน 60 ชั่วโมง 
จ. ก ข ค ถูกต้อง 
39. มีความเหมาะสมกับระดับพัฒนาการและลีลาการเรียนรู้ที่หลากหลายของผู้เรียน สถานศึกษา ควรดำเนินการ ยกเว้น 
ก. จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ 
ข.หากจำเป็นจึงควรประเมินสื่อ 
ค.หาสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ 
ง. เลือกและใช้สื่อที่มีคุณภาพ หลากหลายสอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ ธรรมชาติของสาระการเรียนรู้และความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน 
จ.หลักสำคัญของการเลือกใช้สื่อ ประเมินสื่อ ให้สอดคล้องกับหลักสูตร วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 
40. ตามหลักสูตร 2551 ข้อใดไม่ใช่ระดับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 
ก. ระดับชั้นเรียน ข.ระดับสถานศึกษา 
ค. ระดับโรงเรียน ง. ระดับเขตพื้นที่ 
จ. การประเมินระดับชาติ