ค้นหาข้อสอบ ในเว็บไซต์แห่งนี้

Sunday, September 1, 2013

ความรอบรู้

ความรอบรู้
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย
นายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย
เป็นรัฐมนตรีหญิงคนที่ 52 ของโลก
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา    ตำแหน่ง รมว.ศึกษาธิการ ซึ่งได้นั่งควบรองนายกฯ
นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช    ตำแหน่ง รมช.ศึกษาธิการ
นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา    ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ



 นโยบายของรัฐบาลชุดนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีจุดมุ่งหมาย 3 ประการ ประกอบด้วย
 1.นำประเทศไทยไปสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุล มีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น
 2.นำประเทศไทยสู่สังคมที่มีความปรองดองสมานฉันท์ และ
 3.นำประเทศไทยไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี 2558 อย่างสมบูรณ์ โดยกำหนดนโยบายเป็น 2 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก และระยะการบริหารราชการ 4 ปี
 1.นโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรก คือ 
1) สร้างความปรองดองสมานฉันท์ เยียวยาและฟื้นฟูทุกฝ่าย เช่น ประชาชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ประกอบการภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุรุนแรงตั้งแต่ช่วงปลายการใช้รัฐธรรมนูญ 2540 สนับสนุนให้คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ดำเนินการอย่างเป็นอิสระ 
  2) กำหนดให้การแก้ไขและป้องกันปัญหายาเสพติดเป็น วาระแห่งชาติ
 
  3) ป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในภาครัฐอย่างจริงจัง
 
  4) ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการและเร่งรัดขยายเขตพื้นที่ชลประทาน
 
  5) เร่งนำสันติสุขและความปลอดภัยกลับมาสู่พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัส เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาเป็นหลักปฏิบัติ
 
  6) เร่งฟื้นฟูความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ
 
7) แก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนและผู้ประกอบการเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชั่วคราวเพื่อให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน จัดให้มีบัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบอาชีพรถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ ดูแลราคาสินค้าและการมีรายได้ ป้องกันและแก้ไขการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม
 

 8) ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศ พักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อยที่มีหนี้ต่ำกว่า 500,000 บาท อย่างน้อย 3 ปี และปรับโครงสร้างหนี้สำหรับผู้ที่มีหนี้เกิน 500,000 บาท ทำให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท ผู้จบปริญญาตรีมีรายได้เดือนละไม่น้อยกว่า 15,000 บาท จ่ายเบี้ยสูงอายุแบบขั้นบันได
 อายุ 60-69 ปี 600 บาท,
 อายุ 70-79 ปี 700 บาท,
 อายุ 80-89 ปี 800 บาท
 และอายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับ 1,000 บาท ลดภาษีบ้านหลังแรกและรถยนต์คันแรก 
 9) ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือร้อยละ 23 ในปี 2555 และเหลือร้อยละ 20 ในปี 2556
 
10) ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยเพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี วงเงินเฉลี่ยจังหวัดละ 100 ล้านบาท จัดตั้งกองทุนตั้งตัวได้วงเงิน 1,000 ล้านบาท ต่อสถาบันอุดมศึกษาที่ร่วมโครงการ จัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนเอสเอ็มแอล 300,000 400,000 และ 500,000 บาทตามขนาดหมู่บ้าน
 
 11) ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน เริ่มจากการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ เกวียนละ 15,000 บาท และ 20,000 บาท จัดทำทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรและการออกบัตรเครดิตสำหรับเกษตรกร
 
  12) เร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งในและนอกประเทศ โดยประกาศให้ปี 2554-2555 เป็นปี มหัศจรรย์ไทยแลนด์ และประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าร่วมเฉลิมฉลองในพระราชพิธีมหามงคลที่จะมีขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2554-2555
13) สนับสนุนการพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชน
 
14) พัฒนาระบบประกันสุขภาพ เพิ่มประสิทธิภาพระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค ให้ทุกคนได้รับบริการอย่างมีคุณภาพ สะดวก รวดเร็วและเป็นธรรม
 
15) จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่โรงเรียน เริ่มในโรงเรียนนำร่องแก่นักเรียน ป. 1 ปีการศึกษา 2555 และ
 
 16) เร่งรัดและผลักดันการปฏิรูปการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วม โดยมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่เป็นอิสระยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยให้ประธานเห็นชอบผ่านการออกเสียงประชามติ
ส่วนนโยบายที่จะดำเนินการภายในช่วงระยะ 4 ปี จะดำเนินนโยบายหลักจากข้อ 2-8 ดังนี้
 
2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ ที่สำคัญคือ เทิดทูนและพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ดำรงไว้ซึ่งพระบรมเดชานุภาพแห่งองค์พระมหากษัตริย์ น้อมนำพระราชดำริทั้งปวงไว้เหนือ     เกล้าเหนือกระหม่อม พร้อมทั้งอัญเชิญไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม
 

 3.นโยบายเศรษฐกิจ กระจายรายได้ที่เป็นธรรม ปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ มีนโยบายสร้างรายได้จากการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มขึ้น 2 เท่าตัวในเวลา 5 ปี ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหาร มีนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ส่วนนโยบายโครงสร้างพื้นฐาน จะพัฒนาระบบขนส่ง ประปา ไฟฟ้าให้กระจายไปสู่ภูมิภาคอย่างทั่วถึง เพียงพอ ขยายการให้บริการน้ำสะอาดให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ พัฒนาระบบรถ     ไฟทางคู่เชื่อมชานเมือง+หัวเมืองหลัก พัฒนารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯเชียงใหม่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา กรุงเทพฯ-หัวหิน และเส้นทางเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน ศึกษาและพัฒนาขยายทางรถไฟสายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ต่อจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปยังชลบุรีและพัฒนา เร่งรัดโครงสร้างรถไฟฟ้า 10 สายทางในกทม.และปริมณฑล ให้เริ่มก่อสร้างได้ครบใน 4 ปี ค่าบริการ 20 บาทตลอดสาย
 
4.นโยบายด้านสังคมและคุณภาพชีวิต กระจายโอกาสทางการศึกษาให้เข้าถึงทุกกลุ่ม จัดโครงการเงินกู้เพื่อการศึกษาที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต ส่งเสริมให้แรงงานเข้าถึงข้อมูลข่าวสารตำแหน่งว่างงานโดยสะดวก เพิ่มประสิทธิภาพประกันสังคม พัฒนาคุณภาพชีวิตตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์ จนถึงวัยชรา และผู้พิการ สร้างหลักประกันความมั่นคงในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติและการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกรูปแบบ
 
  5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ ทรัพยากรทางทะเล สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
 
6.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม เร่งสร้างนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และครูวิทยาศาสตร์ให้เพียงพอ ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา ส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศมุสลิม และองค์กรอิสลามระหว่างประเทศ
  7.นโยบายการต่างประเทศ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เร่งส่งเสริมและพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติในองค์กรระหว่างประเทศ
 
  8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พัฒนาระบบราชการ สร้างเสริมมาตรฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และธรรมา  ภิบาล รวมถึงปฏิรูประบบกฎหมายและพัฒนากระบวนการยุติธรรม ให้ทันสมัย สอดคล้องหลักการประชาธิปไตย เร่งรัดจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติรรมที่ดำเนินการโดยอิสระ และปรับปรุงระบบการช่วยเหลือประชาชนให้เข้าถึงความเป็นธรรมโดยง่าย ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข่าวสารจากทางราชการ สื่อสารมวลชนและสื่อสาธารณะ  
 นโยบายรัฐบาล (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) ที่แถลงต่อสภา ฯวันที่ 23 - 24 สิงหาคม 2554 มี 8 ด้าน
นโยบายทั้ง 8 ด้าน คือ
1.นโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก
2.นโยบายความมั่นคงแห่งรัฐ
3.นโยบายเศรษฐกิจ
4.นโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต
5.นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6.นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการวิจัย และนวัตกรรม
7.นโยบายการต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และ
8.นโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

๑.   แท็บเล็ตสำหรับนักเรียน ป.๑ และ ม.๑ ทุกคน
       คอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ช่วยในการสอน และการสืบค้นองค์ความรู้

           ๒.   เรียน ม.๖ จบทุกคนใน ๘ เดือน
       เรียนในเวลา และนอกเวลาได้ เพื่อก้าวทันโลก และทันลูกหลาน

๓.   กองทุนตั้งตัวได้
       เงินทุนขั้นต้น สำหรับผู้จบปริญญาตรีแล้ว พร้อมเป็นเจ้าของธุรกิจในอนาคต

๔.   ๑ อำเภอ ๑ ทุน
          เปิดโอกาสให้เด็กเก่งทุกอำเภอ ไปเรียนต่อต่างประเทศ

๕.   พูดภาษาอังกฤษได้ พร้อมเข้าสู่ประชาคม ASEAN
          ๘๐% ของนักเรียนทั้งประเทศ สื่อสารภาษาอังกฤษได้
        พร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี ๒๕๕๘

๖.   ปรับเลื่อนวิทยฐานะ โยกย้ายครูด้วยความเป็นธรรม
       สอบแข่งขัน วัดความสามารถด้วยตนเอง ไร้เส้นสายฝากฝัง

๗.   เรียนดีอย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่อนุบาลจนจบ ม.๖
        ฟรี ค่าเล่าเรียน
        ฟรี ค่าเครื่องแบบ
        ฟรี ค่าอุปกรณ์การเรียน
        ฟรี ค่าหนังสือเรียน
        ฟรี ค่ากิจกรรม

๘.   กระทรวงศึกษาธิการไทยใสสะอาด
       สร้างความโปร่งใสในการบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
       ให้ปราศจากทุจริตและคอร์รัปชั่น

๙.   อัจฉริยะสร้างได้
       ส่งเสริมให้เด็กเก่ง เด็กฉลาดทุกคน เตรียมความพร้อม เป็นผู้นำประเทศในทุกสาขา

๑๐. สร้างพลังครู
       แก้ไขปัญหาหนี้สินครู ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ สร้างโอกาสให้กับครู

๑๑. เลิกหลักสูตรท่องจำ
        เรียนรู้ด้วยความเข้าใจ ใช้ปัญญา และจินตนาการอย่างไม่สิ้นสุด

๑๒. Internet ตำบล และ หมู่บ้าน
        ค้นหาความถนัดของตนเอง เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา

๑๓. คูปองสร้างเสริมอัจฉริยะ
        มอบคูปองแลกหนังสือ ให้โอกาสเด็กและเยาวชน เลือกหนังสือตามความพอใจ

๑๔. สร้างผู้นำแห่งอาเซียน (Becoming ASEAN Leaders Scholarship)
        ให้ทุนปริญญาโทแก่นักศึกษาอาเซียนมาเรียนในประเทศไทย
        เตรียมพร้อมเป็นผู้นำแห่งอนาคตของประชาคมเศรษฐกิจในภูมิภาค

๑๕. ทุนการศึกษาเพื่ออนาคต  (กรอ.)
        ให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษา ทุกระดับ ทุกสาขา  เพื่อมีโอกาสเรียนต่อ
         เพิ่มพูนความรู้ และความก้าวหน้าในอนาคต

๑๖. ครูมืออาชีพ
        เรียนเป็นครูทุกสาขาวิชาที่ประเทศต้องการ  จบแล้วได้งานทำ มั่นคงในชีวิต 
        กลับมาร่วมสร้างลูกหลานไทยให้เฉลียวฉลาด

๑๗. โรงเรียนร่วมพัฒนา
         รวมพลังครู นักเรียน ทุกตำบล เพื่อความแข็งแกร่งทางวิชาการ   
         พร้อมรับสื่อการเรียน การสอนสมัยใหม่ สนับสนุนยานพาหนะรับส่ง และหอพัก
         เพื่อความปลอดภัย 

๑๘. การศึกษาช่วยดับไฟใต้
        ส่งเสริมการเรียน  การสอน  และการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้
        โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน  ประชาชน และผู้นำแต่ละองค์กรหลักในพื้นที่

๑๙. เทียบโอนประสบการณ์สายอาชีพ  จบปวช.  ได้ใน ๘ เดือน
        หลักสูตรเทียบโอนเรียนเข้มระยะสั้น  เทียบโอนความรู้ทักษะและประสบการณ์ จบ ปวช.   
        ใน ๘ เดือน เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพ

๒๐. Fix – it  Center, ศูนย์ซ่อมสร้างประจำชุมชน 
       ศูนย์บริการซ่อมสร้าง  ฝึกฝนช่างฝีมือและให้บริการแก่ประชาชน

๒๑. พัฒนาศูนย์อบรมอาชีวศึกษาในสถานศึกษา
        ศูนย์พัฒนาอาชีพให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชน
        เรียนรู้หาประสบการณ์เบื้องต้นก่อนไปประกอบอาชีพ

๒๒. จัดตั้งสถาบันอาชีวศึกษาเพื่อความเป็นเลิศในการเรียนสายอาชีพ
        ปริญญาตรีสายปฏิบัติการ  เติมเต็มความรู้  คู่ความเชี่ยวชาญในอาชีพ



สพฐ.ได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ แผนงาน ผลผลิต โครงการดังนี้
วิสัยทัศน์ สพฐ. เป็นองค์กรขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศไทยให้สูงเทียบเท่าค่าเฉลี่ยของโลก เข้าสู่มาตรฐานสากล ภายในปี 2563 ” (ปรับ คำว่า สูงเทียบเท่าค่าเฉลี่ยของโลก ออก และใช้คำว่า เข้าสู่มาตรฐานสากล แทน)
 พันธกิจ พัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษา ให้ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยเน้นการพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาสู่คุณภาพระดับสากลจากการประมวลปัญหาในรอบปี 2554 ที่ผ่านมาก็พบว่าเป็นปัญหาเดิมๆ ที่ยังแก้ไม่ตก แต่มีแนวโน้มดีขึ้น ปัญหาดังกล่าวคือ ยังมีเด็กตกหล่น ออกกลางคัน ไม่เรียนต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลักยังไม่น่าพอใจ ขาดครูสาขาเฉพาะทางการบริหารจัดการยังขาดประสิทธิภาพ และจำนวน โรงเรียนมีมากเกินความจำเป็น
กลยุทธ์
1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตรและส่งเสริมความสามารถด้านเทคโนโลยีเพื่อเป็นเครื่องมือการเรียนรู้
 2. ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทยและวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 3. ขยายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงครอบคลุมผู้เรียนได้รับโอกาสในการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ
4. พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ
5. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการตามแนวทางการกระจายอำนาจ ตามหลักธรรมาภิบาล
 6. พัฒนาการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่ยากลำบาก
แผนงาน
 1. แผนงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. แผนงานสนับสนุนเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาเพื่อการศึกษา
3. แผนงานสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
 4. แผนงานขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา ผลผลิต
ผลผลิตที่
1 : ผู้จบการศึกษาก่อนประถมศึกษา ผลผลิตที่
2 : ผู้จบการศึกษาภาคบังคับ ผลผลิตที่
 3 : ผู้จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย ผลผลิตที่
 4 : เด็กพิการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการพัฒนาสมรรถภาพ ผลผลิตที่
5 : เด็กด้อยโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลผลิตที่
6 : เด็กผู้มีความสามารพิเศษได้รับการพัฒนาศักยภาพ
โครงการ
1. โครงการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. โครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์พกพา
3. โครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการจัดการศึกษาตั้งแต่แรกเกิดจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. โครงการคืนครูให้นักเรียน
5. โครงการพัฒนาครูทั้งระบบเต็มตามศักยภาพ
 6. โครงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
 7. โครงการมัธยมศึกษาเชิงปฏิบัติการ
 8. โครงการเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมโลก
ประชาคมอาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations : ASEAN) 
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 หลังจากการลงนามในปฎิญญาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Declaration of ASEAN Concord) หรือเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration)
โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนิเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศที่ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ ประกอบด้วย
1.นายอาดัม มาลิก รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
2.ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย
3.นายนาซิโซ รามอส รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์
4.นายเอส ราชารัตนัม รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์
5.พันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากประเทศไทย
หลังจากจัดตั้ง ประชาคมอาเซียนเมื่อ 8 ส.ค.2510 แล้ว อาเซียนได้เปิดรับสมาชิกใหม่จากประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มเติมเป็นระยะ ตามลำดับได้แก่
-บรูไนดารุสซาลาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 8 มกราคม 2527
-สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฏาคม 2538
-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540
-สหภาพพม่า เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 23 กรกฏาคม 2540
-ราชอาณาจักรกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 30 เมษายน 2542
วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนำมาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทำให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
1.             ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์ และด้านการบริหาร
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ
กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สำคัญในอาเชียนตลอดจนความสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้
ทั้งนี้ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองกฎบัตรอาเซียน ในการประชุมสุดยอดยอดเซียน ครั้งที่ 13เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสครบรอบ 40 ของการก่อตั้งอาเซียน แสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังแสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความก้าวหน้าของอาเซียนที่กำลังจะก้าวเดินไปด้วยกันอย่างมั่นใจระหว่างประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั้ง 10 ประเทศ และถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนอาเซียนให้เป็นองค์กรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน ครบทั้ง 10 ประเทศแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2551 กฎบัตรอาเซียนจึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2551 เป็นต้นไป
กฏบัตรอาเชียน ประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 หมวด 55 ข้อ
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลัก
              1.ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community หรือ APSC)
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC)
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community หรือASCC)

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(Association of Southeast Asian Nations)

คำขวัญ
"One Vision, One Identity, One Community"
(หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)


สัญลักษณ์อาเซียน 
รวงข้าว 10 ต้นมัดรวมกันไว้
หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
asean
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง 
สีแดง
 หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า 
สีขาว
 หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง
 หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)  ตั้งอยู่ที่่ กรุงจากาตาร์
เลขาธิการ : ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เริ่มดำรงตำเเหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2551)
ปฏิญญากรุงเทพ     8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
กฎบัตรอาเซียน     16 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ภาษาราชการ      ภาษาอังกฤษ

อาเซียน+3 (จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น) 

และอาเซียน+6 (จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย)
 
การเคลื่อนย้ายแรงงานในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนนั้น มีการนำร่องเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีใน 7 สาขาวิชาชีพ คือ วิศวกร พยาบาล สถาปนิก นักสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ และนักบัญชี