ค้นหาข้อสอบ ในเว็บไซต์แห่งนี้

Sunday, September 1, 2013

วิทยาทานเกร็ดความรู้สรุปประเด็นแนวข้อสอบ ความรอบรู้ พลวัตร

วิทยาทานเกร็ดความรู้สรุปประเด็นแนวข้อสอบ ความรอบรู้ พลวัตร(บางส่วน)...ศูนย์ติวครูถัง
สรุปประเด็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555-2559)
1.แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกเริ่มใช้................... ปี 2504
2.คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา.........................................เริ่มใช้ในแผนฯฉบับที่ 8
3.เศรษฐกิจพอเพียง ………………………………………………..เริ่มบรรจุไว้ในแผนฉบับที่ 8
4.เริ่มให้ความสำคัญกับกระบวนการมีส่วนร่วม ภาคีเครือข่าย......................เริ่มใช้ในแผนฯฉบับที่ 8
5.การน้อมนำปรัชญาของเศรฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ………………………..เริ่มบรรจุไว้ในแผนฉบับที่ 9,10 
6.การมุ่งสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประเทศภายใต้ทุนสำคัญ 3 ทุน ของ แผนฯ ฉบับที่ 10 มีดังนี้
                        -ทุนเศรษฐกิจ
                        -ทุนสังคม
                        -ทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
7. ในช่วงแผนที่ 11 ประเทศไทยจะเผชิญความเสี่ยงที่ต้องเตรียมสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศเผชิญการเปลี่ยนแปลงอย่างดีมี
    ประสิทธิภาพ ประการ
                        1. การบริหารภาครัฐอ่อนแอ
                        2.โครงสร้างเศรษฐกิจไทยไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน
                        3.โครงสร้างประชากรวัยสูงอายุมากขึ้น วัยเด็กวัยแรงงานลดลง
                        4. ค่านิยมที่ดีงามเสื่อมถอย
                        5. ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมรุนแรง
                        6. ประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยงด้านความมั่นคง
8.แผนฯฉบับที่ 11 ยึดกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ ......................ปี พ.ศ. 2570
9.เป้าหมายการพัฒนาคน แผนฯฉบับที่ 11
                        1. อัตราเจริญพันธ์รวมของประชากรไทยไม่ต่ำกว่า 1.6
                        2. ระดับค่าเฉลี่ยเชาว์ปัญญาของเด็กเพิ่มขึ้นช่วง 90 – 100
                        3.ปีการศึกษาของคนไทยเฉลี่ย 12 ปี
                        4. สัดส่วนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ 6 ขวบขึ้นไปเพิ่มร้อยละ 45 เพิ่มสัดส่วนประชากรเข้าถึงโครงข่ายคมนาคมและอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงให้ได้ร้อยละ 80 ของประเทศ
10.โรงเรียนมาตรฐานสากล World-Class Standard School เป็นโรงเรียนในโครงการที่จัดหลักสูตรการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล โดยมีความมุ่งหวังไว้ว่า นักเรียนมีศักยภาพ  เป็นพลเมืองโลก โดยมีโรงเรียนในโครงการทั่วประเทศรวม 500 โรงเรียน ด้วยการคัดเลือกโรงเรียนที่มีศักยภาพในการต่อยอดให้บรรลุวัตถุประสงค์โครงการ ใช้ระยะเวลาดำเนินการโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2555
11.คุณลักษณะผู้เรียนที่มีศักยภาพเป็นพลโลก(โรงเรียนมาตรฐานสากล)
                        1. ยอดเยื่อมวิชาการ
                        2. สื่อสารอย่างน้อย 2 ภาษา
                        3. ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์
                        4. ร่วมรับผิดชอบสังคม
12.เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณา ๕ ส่วน๑. กรอบแนวคิด ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควร โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย๒. คุณลักษณะ เศรษฐกิจ พอเพียงสามารถประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ทุกระดับ โดยเน้น ทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน๓. คำนิยาม ความพอเพียง (Sufficiency) จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ ดังนี้
๑) ความพอประมาณ หมาย ถึง ความพอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป
๒) ความมี เหตุผลหมายถึง การตัดสินใจ อย่างมีเหตุผล
๓) การมี ภูมิคุ้มกันในตัว หมายถึง การเตรียม ตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง
๔) เงื่อนไข ๒ เงื่อนไขคือ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม (แนวคิด ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข)
๑) เงื่อนไขความ รู้ คือ ความรู้เกี่ยวกับวิชาการ เพื่อนำมาประกอบการวางแผน
๒) เงื่อนไข คุณธรรม เพื่อเสริมสร้างให้มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์
13.ตัวชี้วัดสถานศึกษาพอเพียง.......... ขั้นต่อไปคือสถานศึกษาต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
         ตัวชี้วัดความสำเร็จสถานศึกษาพอเพียง
          การติดตามประเมินผลได้กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จไว้ ๕ ด้าน คือ
                    ๑. ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา
                    ๒. ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
                    ๓. ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
                    ๔. ด้านการพัฒนาบุคลากร
                   ๕. ด้านผลลัพธ์
14.การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2( 10 ปี)........................ ปี2552-2561
15. วิสัยทัศน์การปฏิรูปรอบสอง...........................................ภายในปี2561 คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
16. เป้าหมาย การปฏิรูปรอบสอง   ....1. คุณภาพ 2. โอกาส 3. มีส่วนร่วม
17. สถานศึกษา 3 D 
                        1. ด้านประชาธิปไตย
                        2.ด้านคุณธรรม จริยธรรม
                        3.ด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด
18. เขตการค้าเสรีอาเซียน...........................AFTA(ASEAN   Free   Trade Area)
19.อาเซียนมี .............................................10 ประเทศ
20.ประชาคม อาเซียน" (ASEAN Community) เกิดจากสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of Southeast Asian Nations-ASEAN) หรือ "อาเซียน" โดยอาเซียนเดิม ได้ถือกำเนิดจากการประกาศ "ปฏิญญากรุงเทพฯ" (Bangkok Declaration) โดยมีประเทศสมาชิกเมื่อเริ่มก่อตั้งรวม 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และ สิงคโปร์ เมื่อปี 2510 เพื่อ ส่งเสริมความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และ การบริหาร
21."ประชาคมอาเซียน" (ASEAN Community)........ให้เป็นผลสำเร็จในปี 2558 "เสาประชาคมหลักรวม 3 เสา" ได้แก่
1.ประชาคมความมั่นคงอาเซียน
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
3.ประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน
22.ประธานอาเซียน......................นายสุคีโล บัมบัง ยุทธโยโน ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย
23.เลขาธิการอาเซียน........นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ
24. อาเซียน + 3..................... + 3 คือ จีน   ญี่ปุ่น   เกาหลี่ใต้
25. อาเซียน + 6 .....................+ 6 คือ จีน   ญี่ปุ่น   เกาหลี่ใต้   ออสเตรเลีย   นิวซีแลนด์ และอินเดีย
26. โอลิมปิคเกมส์ ครั้งต่อไป.....................................ปี 2555 กรุงลอดอน  อังกฤษ เป็นเจ้าภาพ
27. ซีเกมส์ ปี 2554.................................................ครั้งที่ 26 อินโดนีเซีย
28.นายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร.......................................ปรามปราบยาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ
30. จับประเด็นกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
1. รัฐธรรมนูญปัจจุบัน        ฉบับที่ 18 ประกาศใช้เมื่อ 24 สิงหาคม 2550
2. รัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบันร่างโดย   สภาร่างรัฐธรรมนูญ
4. ประธานกรรมธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ นต.ประสงค์ สุ่นศิริ
5.  ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ      คือนายมีชัย ฤชุพันธ์
6.  ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ     คือ นายมีชัย ฤชุพันธ์
7.  รัฐธรรมนูญมีทั้งหมด                  15 หมวด   309 มาตรา

บททั่วไป
8.  พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจผ่านทาง           รัฐสภา   คณะรัฐมนตรี ศาลพระมหากษัตริย์
9.   พระมหากษัตริย์ทรงเป็น พุทธมามะกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
10.   พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย
11.   พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งประธานองคมนตรีและองคมนตรีอีก 18 คน(1+18=19)
12.   ประธานรัฐสภา   ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ประธานองคมนตรี
13.   ประธานองคมนตรี  ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง องคมนตรี
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย
14.บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
15.บุคคลที่อายุเกิน 60 ปี มีสิทธิได้รับสวัสดิการ
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
17. แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐคณะรัฐมนตรีต้องจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินงานรวมทั้ง ปัญหาและอุปสรรคเสนอต่อรัฐสภาปีละหนึ่งครั้ง     
18. การ ดำเนินการใดที่เป็นเหตุให้โครงสร้างหรือโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน หรือเพื่อความมั่นคงของรัฐตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน หรือทำให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละ51จะกระทำมิได้
19. ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
20. ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ต้องเป็นสมาชิกพรรคไม่น้อยกว่า 90 วัน
21. อายุของสภาผู้แทนราษฎรมีกำหนดคราวละ 4 ปี
22. สมาชิกภาพของสภาผู้แทนราษฎรเริ่มเมื่อ วันเลือกตั้ง
23. เมื่อครบวาระ 4 ปี(อายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง) กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ภายใน 45 วัน
24. ถ้ายุบสภาผู้แทนราษฎร ต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ภายใน ไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่ยุบสภาผู้แทนราษฎร
25. พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะ ยุบสภาผู้แทนราษฎร ต้องกำหนดวันเลือกตั้งภายใน ไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน
31.การจัดการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ
          1. การศึกษาในระบบ (formal Education).....เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการศึกษาที่แน่นอน
          2. การศึกษานอกระบบ (non – formal Education)…..เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นใน การกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้อง การของบุคคลแต่ละกลุ่ม
          3. การศึกษาตามอัธยาศัย (lnformal Education).....เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจาก บุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่นๆ
32.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิ์ในการจัดการศึกษา ได้ระดับใด
            มาตรา 41 บัญญัติว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่น
33.ผู้กำหนดหลักสูตรแกนกลาง คือ คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
34.วิทยฐานะแต่ละตำแหน่งต่างกัน
วิทยฐานะ
ครู
รองผอ.
ผอ.
รองผอ.เขต
ผอ.เขต
ศน.
ชำนาญการ
/
/
/
0
0
/
ชำนาญการพิเศษ
/
/
/
/
0
/
เชี่ยวชาญ
/
/
/
/
/
/
เชี่ยวชาญพิเศษ
/
0
/
0
/
/
35.ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ มี 4 ประเภท คือ
1.       ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู
2.       ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา
3.       ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
4.       ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพบุคลากรทางการศึกษาอื่น (ศึกษานิเทศก์)
36.มาตรฐานวิชาชีพ ประกอบด้วย
(1)มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
(2)มาตรฐานการปฏิบัติงาน
(3)มาตรฐานการปฏิบัติตน
37.(มาตรฐานการปฏิบัติตน) จรรยาบรรณของวิชาชีพ ประกอบด้วย
(1) จรรยาบรรณต่อตนเอง
(2) จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
(3) จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
(4) จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
(5) จรรยาบรรณต่อสังคม
38.การพิจารณาโทษผู้ประกอบวิชาชีพ ให้ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพ มีอำนาจวินิจฉัย ชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ (ขออุทธรณ์ ต่อ คณะกรรมการคุรุสภา)
(1) ยกข้อกล่าวหา
(2) ตักเตือน
(3) ภาคทัณฑ์
(4) พักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดระยะเวลาตามที่เห็นสมควรแต่ไม่เกิน 5 ปี
(5) เพิกถอนใบอนุญาต (ล่วงเลย 5 ปี จึงขอใหม่ได้)
39.1.Learning by doing   ........................................ดิวอี้
40.เด็กเกิดมามีสภาพเสมือนผ้าขาวยังไม่มีรอยดำ..................................จอห์น ล็อค
41. บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา.............................................................ธอร์นไดค์
42.บิดาแห่งจิตวิทยา...............................................................................ซิกมัน ฟรอยด์
43.บิดาแห่งการแนะแนว..........................................................................แฟรงค์ พาร์สัน
44.Education   is life ..............................................ดิวอี้.
45.เรียนฟรี 15 ปี (ฟรี 5 อย่าง)
                  1. ค่าเล่าเรียน
                  2. แบบเรียน
                  3. เครื่องแบบ
                  4. อุปกรณ์การเรียน
                  5. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (วิชาการ- คุณธรรม ลูกเสือ-ทัศนศึกษา-ICT)
 46.UTQ............................... โครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบ
47. UTQ …..Upgrading Teacher Qualification Through the whole system  
48. SP 2 Stimulus Package 2 (แผนปฏิบัติการไทยเข็มแข็ง 2555: SP2 )
49.สมรรถนะครู มี 11 สมรรถนะ
              1.สมรรถนะหลัก 5 สมรรถนะ
              2.สมรรถนะประจำสายงาน 6 สมรรถนะ
50.สมรรถนะหลักครู(Core Competency)มี 5 สมรรถนะ 
              1.การมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน
              2.การบริการที่ดี
              3.การพัฒนาตนเอง
              4. การทำงานเป็นทีม
              5. จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู
51.สมรรถนะประจำสายงานครู(Functional Competency)มี 6 สมรรถนะ
             1.การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
              2.การพัฒนาผู้เรียน
              3.การบริหารจัดการชั้นเรียน
              4.การวิเคราะห์ สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนา
             5.ภาวะผู้นำครู
             6.การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้
52.KM…. Knowledge management………..การจัดการความรู้
    ความรู้ (Knowledge)
            ปัจจุบันความรู้ (Knowledge) มีความสำคัญมากในองค์กร แต่สิ่งที่มีผลกระทบต่อความรู้ที่เกิดข้นในองค์กรก็คือ การเปลี่ยนแปลงทำให้วิธีการคิดและกระบวนการทำงานมีผลกระทบต่อความรู้ที่องค์กรมีอยู่ ในบางครั้งพนักงานได้ลาออกหรือเสียชีวิต โดยที่ไม่มีการวางแผนในการจัดเก็บดูแลรักษาข้อมูลไว้เลย ทำให้ความรู้ที่ได้สั่งสมมา อาจสูญหายพร้อมกันไปได้ นี้เป็นเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้น ที่การเปลี่ยนแปลงทำให้มีผลกระทบต่อการทำงานทั้งองค์กร แต่ในชีวิตจริง การเปลี่ยน แปลงที่เกิดขึ้นมีปัจจัยมากมายทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกองค์กรซึ่งซึ่งองค์กรไม่สามารถควบคุมได้
โมเดลปลาทู เป็นโมเดลอย่างง่ายของสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)ที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนปลาทู หนึ่งตัวที่มี 3 ส่วนคือ
                                      
1.ส่วน “หัวปลา” (Knowledge Vision-KV) หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์ หรือทิศทางของการจัดการความรู้ โดยก่อนที่จะทำการจัดการความรู้ ต้องตอบให้ได้ว่า เราจะทำ KM ไปเพื่ออะไร ?” โดย “หัวปลานี้จะต้องเป็นของ “คุณกิจ” หรือผู้ดำเนินกิจกรรม KM ทั้งหมดโดยมี คุณเอื้อ และ คุณอำนวยคอยช่วยเหลือ
2.ส่วน “ตัวปลา” (Knowledge Sharing – KS) หมาย ถึง ส่วนของการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญ โดย “คุณอำนวย” จะ มีบทบาทในการช่วยกระตุ้นให้ “คุณกิจ” มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความรู้ โดย เฉพาะความรู้ ซ้อนเร้นที่มีอยู่ในตัว “คุณกิจ” พร้อมอำนวยให้เกิดบรรยากาศใน การเรียนรู้แบบเป็นทีม ให้เกิดการหมุนเวียนความรู้ ยกระดับความรู้ และเกิด นวัตกรรม
3.ส่วน “หางปลา” (Knowledge Assets – KA) เป็น ส่วนของ “คลังความรู้” หรือ “ขุมความรู้” ที่ได้จากการเก็บสะสม “เกร็ดความ รู้” ที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ”ตัวปลา” ซึ่งเราอาจเก็บส่วน ของ “หางปลา”  นี้ด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ICT ซึ่งเป็นการสกัดความรู้ที่ซ้อนเร้นให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด นำไปเผยแพร่และแลกเปลี่ยนหมุนเวียนใช้ พร้อมยกระดับต่อไป
53. การจัดการเรียนรู้ต้องยึดหลัก...........................
                                                        - ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้
                                                        - ผู้เรียนพัฒนาตนเองได้
                                                       - ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
54. หนังสือทั้งเล่มเปรียบได้กับ............Website 
55. หน้าใดหน้าหนึ่งของหนังสือ.........Webpage
56. Backward Design   .............หมายถึง วิธีการออกแบบการสอนแบบย้อนกลับ โดยการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนก่อนหรือ มาตรฐานการเรียนรู้ขึ้นมาก่อนเพื่อกำหนดภาระงาน วิธีการประเมินจากนั้นจึงนำ ไปจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้(แผนการสอน)
57. อะไรคือ BBL (Brain Based Learning) ..........การเรียนรู้ที่ใช้โครงสร้างของสมองเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
58. วิธีการสอนโดยใช้กระบวนการของ เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน คือ หมวก 6 ใบ   หรือหมวก 6 สี (Six Thinkng Hats)
                                                           
ที่
สีหมวก
วิธีคิด
อารมณ์ที่แสดงถึง
1
ขาว
คิดข้อเท็จจริง
เป็นกลาง
2
แดง
คิดความรู้สึก   เชิงอารมณ์
ความโกรธ
3
ดำ
คิดจุดอ่อนข้อบกพร่อง
มืดครื้ม
4
เหลือง
คิดมองโลกในแง่ดี
สว่างไสว
5
เขียว
คิดอย่างสร้างสรรค์
การเจริญเติบโต
6
ฟ้า
การควบคุมและการบริหารการคิดลักษณะของผู้นำ
เยือกเย็น นุ่มนวล

59. การระดมสมอง เปิดโอกาสให้คนอื่นๆได้แสดงความคิดเห็น เรียกว่า  Brainstorming
60. อับราฮัม มาสโลว์...................ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์...แบ่งลำดับความต้องการเป็น 5 ขั้นตอน
             1.ด้านร่างกาย
             2.ความมั่นคงปลอดภัย
             3.ความต้องการติดต่อสัมพันธ์กับผู้คน
             4.ความต้องการยกย่องนับถือจากผู้อื่น
             5.ความต้องการใช้ความรู้ความสามารถของตนเองให้เกิดประโยชน์
การวัดผลประเมินผล.......
61.LAS…………………………….Local Assessment System      การประเมินผลระดับเขตพื้นที่การศึกษา
62.NT………………….Ordinary National Educational Test การประเมินผลระดับชาติ ป.3 ป.6 ม.3 ม.6ทุกคน
63.การให้เกรด(ผลการเรียน)หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 51........ ต้องให้เป็นตัวเลขเท่านั้นสำหรับมัธยม
เกรด
ช่วงคะแนน
คำสะท้อนมาตรฐาน
4
80-100
ผลการเรียน…………ดีเยี่ยม
3.5
75-79
ผลการเรียน………...ดีมาก
3
70-74
ผลการเรียน...........ดี
2.5
65-69
ผลการเรียน...........ค่อนข้างดี
2
60-64
ผลการเรียน...........น่าพอใจ
1.5
55-59
ผลการเรียน...........พอใช้
1
50-54
ผลการเรียน...........ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ
0
0-49
ผลการเรียน............ต่ำกว่าเกณฑ์

64. การวัดผลประเมินผลอิงมาตรฐาน คือ   การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ที่แสดงให้เห็นการพัฒนาการเรียนรู้ ตลอดจนความก้าวหน้าความสำเร็จทางการเรียนโดยไปเทียบเคียงกับคุณภาพที่กำหนดไว้ในมาตรฐาน
65. การประเมินผลตามสภาพจริง เรียกว่า........ Authentic   Assessment 
SWOT
               S…………..จุดแข็ง (Strengths)                  W…………..จุดอ่อน (Weaknesses)
              O…………...โอกาส (Opportunities)           T……………..อุปสรรค (Threats)

66.จุดเน้น สพฐ. ปี 2554
1.       ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระวิชาหลักเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 4 (Student Achivement)
2.       นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 ทุกคน อ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น (Literacy & Numeracy)
3.       เพิ่ม ศักยภาพนักเรียนในด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์ ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นหนึ่งในสองของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ (Excellence)
4.       นักเรียนทุกคนมีความสำนึกในความรักชาติ (EQ: Emotional Quotient)
5.       สร้าง ทางเลือกในการเรียนรู้ที่เน้นให้ประชากร วัยเรียนทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ลดอัตราการออกกลางคัน ศึกษาต่อและประกอบอาชีพ (Alternative Learning)
6.       ส่งเสริมการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการขยายผลสถานศึกษาพอเพียงต้นแบบ (Sufficiency Economy)
7.       นักเรียน ครู และสถานศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ (Southern Border Provinces)
8.       นักเรียน ครู และสถานศึกษาได้รับการพัฒนาเตรียมความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
9.       สถานศึกษาทุกแห่งผ่านการรับรองมาตรฐานการศึกษา มีระบบประกันคุณภาพภายในที่เข้มแข็ง และผ่านการรับรองจากการประเมินคุณภาพภายนอก (Quality Schools)
10.    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผ่านการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (Effecient Service Areas

 ข้อมูลแนวข้อสอบwww.Kruthang.net
ศูนย์ติวครูถัง   ชัยภูมิ  089-4264130,080-0070275




No comments:

Post a Comment

ได้ข้อมูลแล้ว ก็ช่วยกันคอมเม้นด้วยนะค่ะ