ค้นหาข้อสอบ ในเว็บไซต์แห่งนี้

Saturday, November 28, 2009

แนวข้อสอบมาตรฐานช่วงชั้นที่ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชุดที่ 2

ข้อสอบครูชำนาญการพิเศษ ข้อสอบครูชำนาญการพิเศษ,สอบครูชำนาญการพิเศษ
http://oopps.bloggang.com
http://sobkroo.blogspot.com/


แนวข้อสอบมาตรฐานช่วงชั้นที่ 3
มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ชุดที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (จำนวน 100 ข้อ)
คำชี้แจง ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้อง หรือเหมาะสมที่สุดเพียงคำตอบเดียว
1. ส่วนประกอบใดของเซลล์ที่มีการแพร่เข้าออกของก๊าซและสารละลายต่างๆ
1) cell membrane 2) nucleus
3) cytoplasm 4) cell wall
2. ถ้าจะสัมผัสชีพจรได้ง่ายที่สุด ควรสัมผัสบริเวณใด
1) ซอกคอ หลังข้อพับบริเวณเข่า
2) ขมับ ข้อศอก
3) ใต้รักแร้ ข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ
4) ซอกคอ ข้อมือด้านนิ้วหัวแม่มือ
3. เมื่อเป็นนิ่วในถุงน้ำดีทำให้ต้องตัดทิ้ง ซึ่งจะส่งผลต่อระบบการย่อยอาหารอย่างไร
1) ย่อยอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตได้ยากขึ้น
2) ย่อยอาหารประเภทไขมันได้ยากขึ้น
3) ย่อยอาหารประเภทโปรตีนได้ยากขึ้น
4) ย่อยอาหารประเภทวิตามินได้ยากขึ้น
4. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเอนไซม์
1) อุณหภูมิ 2) สภาวะความเป็นกรด - เบส
3) พื้นที่ที่มีเอนไซม์เข้าไปสัมผัส 4) ชนิดของอาหาร
5. ถ้าเคี้ยวข้าวนานๆ แล้วอมไว้สักครู่พบว่าข้าวมีรสหวาน เกิดจากการย่อยของ
เอนไซม์ชนิดใด
1) ไลเปส 2) เปปซิน
3) มอลเตส 4) อะไมเลส


6. ข้อใดเป็นชิ้นส่วนของเซลล์รูปร่างไม่แน่นอน
1) เนื้อเยื่อ 2) เม็ดเลือดขาว
3) เกล็ดเลือด 4) ลิมโฟไซต์
7. ข้อใดไม่ใช่ข้อแตกต่างของเม็ดเลือดแดงกับเม็ดเลือดขาว
1) จำนวน 2) ขนาด
3) นิวเคลียส 4) ส่วนประกอบ
8. การขับของเสียออกจากหลอดเลือดเข้าสู่ต่อมเลือดและถูกขับออกที่ผิวหนังได้
โดยวิธีการใด
1) การแพร่ 2) การออสโมซิส
3) โครมาโทกราฟี 4) แอกทิฟทรานสปอร์ต
9. ส่วนใดในระบบทางเดินอาหารของคนที่ไม่ได้ทำหน้าที่ย่อยอาหาร
1) ช่องปาก 2) ลำไส้ใหญ่
3) กระเพาะอาหาร 4) ลำไส้เล็ก
10. อวัยวะส่วนใดมีการดูดซึมอาหารมากที่สุด
1) กระเพาะอาหาร 2) หลอดอาหาร
3) ลำไส้เล็ก 4) ลำไส้ใหญ่
11. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบในระบบหมุนเวียนเลือดในคน
1) ปอด 2) เลือด
3) เส้นเลือด 4) หัวใจ
12. สัตว์ชนิดใดมีระบบหมุนเวียนของเลือดแบบวงจรเปิด
1) หนู 2) ลิง
3) งู 4) กุ้ง
13. ข้อใดไม่ใช่สาเหตุของความดันเลือดในเส้นเลือด
1) การหายใจเข้าหายใจออก 2) การบีบตัวคลายตัวของหัวใจ
3) ความยืดหยุ่นของผนังเส้นเลือด 4) จังหวะการบีบตัวของหัวใจ

14. เลือดที่ฟอกแล้วจากปอด ไหลกลับเข้าสู่หัวใจห้องใด
1) ห้องบนซ้าย 2) ห้องบนขวา
3) ห้องล่างซ้าย 4) ห้องล่างขวา
15. เราสามารถทดสอบน้ำตาลในปัสสาวะได้โดยวิธีใด
1) ทดสอบกับสารละลายไบยูเรต
2) ทดสอบกับสารละลายไอโอดีน
3) ทดสอบกับสารละลายเบเนดิกส์
4) ทดสอบกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์
16. เราควรปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อเป็นการถนอมไต
1) รักษาสุขภาพโดยการวิ่ง 2) กินยาลดความอ้วน
3) รับประทานอาหารหวานๆ 4) ลดอาหารที่มีรสจัดๆ
17. ขณะที่ลุกขึ้นจากการนั่งในทันทีจะมีอาการเวียนศีรษะหรือมีอาการหน้ามืด
เกิดจากสาเหตุใด
1) มีเม็ดเลือดขาวมากผิดปกติ 2) มีเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติ
3) ความดันโลหิตสูง 4) ความดันโลหิตต่ำ
18. ในโครงสร้างส่วนใดที่สามารถกรองของเสียออกจากเลือดได้มากที่สุด
1) หลอดไต 2) ท่อไต
3) หน่วยไต 4) กรวยไต
19. เม็ดเลือดขาวถูกสร้างขึ้นบริเวณใด
1) ม้าม 2) ตับ
3) ไขกระดูก 4) เชื้อโรค
20. ตับอ่อนสร้างน้ำย่อยอะไรเพื่อย่อยอาหารประเภทไขมัน
1) ทริปซิน 2) ไลเปส
3) อะไมเลส 4) เปปซิน


21. สารใดเกิดจากการสลายตัวของโปรตีน โดยขับออกมากับเหงื่อและปัสสาวะ
1) เพียวริน 2) น้ำ
3) เกลือคลอไรด์ 4) ยูเรีย
22. อาหารประเภทใดที่ใช้ทดสอบโดยสารละลายไบยูเรตแล้วจะได้สีม่วง
1) เต้าหู้ 2) ฟักทองนึ่ง
3) ขนมชั้น 4) กล้วยทอด
23. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีความแปรผันต่อเนื่อง
1) น้ำหนัก 2) สีผิว
3) ลักยิ้มของคน 4) ความฉลาด
24. อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มีส่วนทำให้ลักษณะทางพันธุกรรมแปรผันไป คือข้อใด
1) ฮอร์โมน 2) อายุ
3) เพศ 4) อาหาร
25. ถ้าหมู่เลือดของพ่อคือ A หมู่เลือดของแม่คือ B รุ่นลูกน่าจะเป็นหมู่เลือดใด
1) A, B, AB, O 2) A, B
3) A, B, AB 4) A, B, O
26. ถ้าพ่อเป็นพาหะของยีนทาลัสซีเมีย แม่ปกติจะส่งผลต่อรุ่นลูกอย่างไร
1) เป็นทาลัสซีเมีย 50% 2) มีพาหะของยีนทาลัสซีเมีย 50%
3) เป็นทาลัสซีเมีย 25% 4) มีพาหะของยีนทาลัสซีเมีย 25%
27. ลักษณะทางพันธุกรรมใดมักพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
1) ทาลัสซีเมีย 2) ตาบอดสี
3) หมู่เลือด 4) ผิวเผือก
28. ในสภาพภูมิอากาศอย่างไรที่มีความหลากหลายทางชีวภาพหนาแน่นมากที่สุด
1) แบบร้อนชื้น 2) แบบเย็นแห้งแล้ง
3) แบบหนาว 4) แบบทะเลทราย

29. ปัจจัยที่มีผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ คือข้อใด
1) การฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรม 2) การทำลายถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติ
3) การจัดระบบธรรมชาติ 4) การปลูกพืชในพื้นที่การเกษตร
30. ข้อใดเป็นการขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
1) การผสมเทียม 2) การปฏิสนธิภายใน
3) การทำโคลนนิ่ง 4) การปฏิสนธิภายนอก
31. “การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต”
ข้อความนี้หมายถึงอะไร
1) การคัดเลือกพันธุ์ 2) การปรับปรุงพันธุ์
3) พันธุวิศวกรรม 4) พันธุกรรม
32. ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อใช้ส่วนใดของพืช
1) ทุกส่วนของพืช 2) บริเวณตาอ่อน
3) บริเวณยอด 4) บางส่วนของเมล็ด
33. ในการถ่ายฝากตัวอ่อนในโคนม ตัวอ่อนที่ได้นำไปถ่ายฝากให้เจริญเติบโต ในร่างกายของแม่โค เรียกว่าอะไร
1) ตัวให้ 2) ตัวรับ
3) ตัวแม่ 4) ตัวแพร่พันธุ์
34. พืชต่อไปนี้ กลุ่มใดจัดเป็นกลุ่มดอกสมบูรณ์
1) พริก มะเขือ ต้อยติ่ง 2) ชบา ฟักทอง หน้าวัว
3) ดอกข้าวโพด มะเขือ ฟักทอง 4) ตำลึง บวบ มะละกอ
35. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบที่สำคัญที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
1) Chlorophyll 2) H2O
2) CO2 4) C6H2O6
36. ส่วนประกอบของระบบนิเวศด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ คือข้อใด
1) อุณหภูมิ 2) พืชสีเขียว
3) สัตว์ 4) จุลินทรีย์
37. ข้อใดจัดเป็นความหลากหลายของระบบนิเวศ
1) ความหลากหลายของชนิด 2) ความหลากหลายของพันธุกรรม
3) ความหลากหลายทางชีวภาพ 4) ความหลากหลายของการทดแทน
38. ข้อใดคือส่วนประกอบของระบบนิเวศ
1) กลุ่มสิ่งมีชีวิตกับแหล่งที่อยู่ 2) ความสัมพันธ์ของประชากรสิ่งมีชีวิต
3) กลุ่มผู้ผลิตกับผู้บริโภค 4) กลุ่มผู้บริโภคกับที่อยู่อาศัย
39. กลุ่มสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหมายความว่าอย่างไร
1) สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตในระบบนิเวศ
2) สิ่งมีชีวิตที่ต้องการศึกษาในระบบนิเวศ
3) กลุ่มสัตว์ในระบบนิเวศ
4) กลุ่มพืชในระบบนิเวศ
40. ผู้ผลิตในระบบนิเวศมีหน้าที่อย่างไร
1) เป็นส่วนเชื่อมต่อระหว่างส่วนประกอบที่มีชีวิตกับส่วนประกอบที่ไม่มีชีวิต
2) กลุ่มมีชีวิตที่ไม่สามารถปรุงอาหารได้ แต่สามารถกินอาหารได้
3) ย่อยสลายส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
4) กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ได้รับอาหารจากการกินสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
พิจารณาแผนภาพต่อไปนี้แล้วตอบคำถามข้อ 41-44











41. แผนภาพนี้แสดงเรื่องอะไร
1) ระบบนิเวศ 2) การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
3) ห่วงโซ่อาหาร 4) สายใยอาหาร
42. มีห่วงโซ่อาหารอยู่เท่าไร
1) 3 2) 4
3) 5 4) 6
43. จากแผนภาพ ผู้บริโภคอันดับ 2 คือข้อใด
1) กวาง หนู 2) กระต่าย งู
3) งู เสือ 4) กวาง กระต่าย
44. จากแผนภาพ ผู้ผลิตคือข้อใด
1) กวาง 2) หญ้า
3) หนู 4) กระต่าย
45. ปัจจัยทางกายภาพในระบบนิเวศคือข้อใด
1) แบคทีเรีย 2) ฮิวมัส
3) แพลงก์ตอนพืช 4) สาหร่าย
46. สิ่งมีชีวิตกลุ่มใดในระบบนิเวศที่เปลี่ยนอินทรียสารให้เป็นอนินทรียสาร
1) รา 2) แพลงก์ตอน
3) สาหร่าย 4) ไส้เดือน
47. สิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันและได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน คือข้อใด
1) พยาธิในลำไส้คน 2) ไลเคน
3) ปลาฉลามกับเหาฉลาม 4) กบกินแมลง
48. ความสัมพันธ์ในข้อใดที่ได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน และจะขาดฝ่ายใดไม่ได้
1) เห็บกับสุนัข 2) กาฝากกับต้นมะม่วง
3) ไลเคน 4) พลูด่างกับต้นไม้


49. สมดุลธรรมชาติ คือข้อใด
1) สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
2) สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
3) สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศที่เปลี่ยนแปลงน้อยมาก
4) การควบคุมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคโดยธรรมชาติ
50. ในการจัดสารออกเป็นหมวดหมู่ นักเคมีใช้สิ่งใดเป็นเกณฑ์
1) สถานะ 2) เนื้อสาร
3) สมบัติ 4) การละลาย
51. ในการทดสอบแป้ง เราสกัดคลอโรฟิลล์ออกโดยต้มใบไม้ในแอลกอฮอล์ เหตุผลที่
ไม่ใช้น้ำเพราะข้อใด
1) น้ำกลายเป็นไอได้ง่าย
2) คลอโรฟิลล์ไม่ละลายน้ำ
3) น้ำต้มแล้วเดือดช้ากว่าแอลกอฮอล์
4) น้ำมีคลอรีนผสมอยู่ทำให้การทดลองไม่ได้ผล
52. ข้อใดจัดเป็นสารเนื้อผสม
1) น้ำกะทิ ข้าวหลาม น้ำพริก
2) น้ำกะทิ ปูนขาว อากาศ
3) น้ำมะนาว ผงถ่าน พิมเสน
4) ดิน น้ำแกง น้ำส้มสายชู
53. เราใช้อะไรเป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่าสารใดเป็นสารเนื้อเดียว สารใดเป็น
สารเนื้อผสม
1) การตกผลึก 2) สมบัติทุกส่วนของสาร
3) การนำไฟฟ้า 4) การละลาย
54. ข้อใดไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
1) การระเหยของน้ำ 2) การเปรี้ยวของนม
3) การละลายเกลือในน้ำ 4) การหลอมเหลวเทียนไข

55. ถ้าต้องการสกัดกลิ่นตะไคร้หอม ควรใช้ตัวทำละลายในข้อใดดีที่สุด
1) น้ำ 2) แอลกอฮอล์
3) การกรอง 4) คลอโรฟอร์ม
56. ถ้าในน้ำเชื่อมมีฝุ่นละอองปะปนอยู่ ควรใช้วิธีใดแยกเอาฝุ่นออก
1) การกลั่น 2) การต้มจนแห้ง
3) การกรอง 4) ตั้งทิ้งไว้ให้ระเหิด
57. เมื่อนำเอาทองเหลืองไปหลอมเหลวพลังจะถูกดูดเข้าไปเพื่ออะไร
1) เพิ่มพลังงานจลน์ในโมเลกุล
2) เกิดปฏิกิริยาดูดกลืนพลังงานความร้อน
3) ลดพลังงานจลน์ที่อยู่ในระบบ
4) ทำให้ปริมาตรของของแข็งเพิ่มขึ้น
58. ข้อปฏิบัติในการเลือกซื้ออาหารกระป๋องคือข้อใด
1) ดูปริมาณที่บรรจุเพื่อจะได้มากๆ
2) ดูยี่ห้อที่คนนิยมซื้อมารับประทาน
3) กระป๋องต้องไม่บวม บุบ บู้บี้
4) ดูลักษณะสีของกระป๋องที่บรรจุ
59. สารประเภทใดที่แยกโดยวิธีโครมาโทกราฟี
1) สารเนื้อเดียว 2) เป็นของเหลว
3) สารเนื้อผสม 4) สารละลาย
60. สารที่ใช้ในบ้านข้อใดเป็นกรดทั้งหมด
1) น้ำส้มสายชู น้ำสบู่ 2) น้ำยาล้างจาน ยาสีฟัน
3) น้ำปลา ยาสีฟัน 4) น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำส้มสายชู
61. สารละลายอิ่มตัว จะสามารถละลายได้อีกเมื่อใด
1) ให้ความร้อนเพิ่มขึ้น 2) ให้ตัวละลายเพิ่มขึ้น
3) ให้ความเย็นเพิ่มขึ้น 4) ทำให้ตกผลึก

62. ต้นไม้เป็นปอดของโลก ช่วยฟอกอากาศพิษ อากาศพิษเป็นออกไซด์ของธาตุใด
1) ไนโตรเจน 2) คาร์บอน
3) ออกซิเจน 4) ซัลเฟอร์
63. ข้อใดส่งผลให้ค่าของแรงเสียดทานมากหรือน้อย
1) ลักษณะพื้นที่ผิวสัมผัส แรงกดตามแนวดิ่ง
2) พื้นที่ผิวสัมผัส ชนิดของวัตถุ
3) พื้นที่ผิวสัมผัส แรงกดตามแนวดิ่ง
4) ลักษณะพื้นที่ผิวสัมผัส พื้นที่ผิวสัมผัส
64. เราสามารถลดแรงเสียดทานได้อย่างไร
1) เลือกใช้ผิวสัมผัสที่เรียบ
2) เลือกใช้ล้อรถที่มีดอกยาง
3) เลือกใช้รองเท้าที่พื้นไม่เรียบ
4) เพิ่มแรงกดระหว่างผิวสัมผัส
65. เมื่อฝนตกถนนเปียก เหตุใดรถแล่นบนถนนจึงเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
1) เกิดแรงเสียดทานระหว่างผิวถนนกับล้อมากขึ้น
2) ถนนเปียกทำให้ไม่เกิดแรงเสียดทาน
3) เกิดแรงเสียดทานระหว่างผิวถนนกับล้อน้อยลง
4) ถนนเปียกทำให้เบรกรถไม่ได้
66. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
1) การปล่อยหรือทิ้งวัตถุลงมาจะมีค่า u = 0
2) เวลาที่ใช้ในตอนขึ้นจะไม่เท่ากับเวลาที่ใช้ในตอนลง
3) ความเร็วที่จุดสูงสุด = 1 เสมอ
4) การขว้างจะมีค่าของความเร็วต้น u = 0
67. เครื่องกลในข้อใดที่ช่วยผ่อนแรง
1) ที่เปิดขวด 2) คีมคีบถ่าน
3) ตะเกียบ 4) แหนบ

68. ขณะที่ใช้ท่อนไม้งัดก้อนหิน เปรียบได้กับสิ่งใด
1) คีมตัดลวด 2) ที่เปิดขวด
3) กรรไกรตัดเล็บ 4) ไม้กระดก
69.





จากรูป A จะต้องมีน้ำหนักเท่าใดจึงจะทำให้คานสมดุล
1) 100 g 2) 150 g
3) 200 g 4) 300 g
70.



อุปกรณ์ใดใช้หลักโมเมนต์ดังรูป
1) ครกกระเดื่อง 2) คีมคีบน้ำแข็ง
3) เบ็ดตกปลา 4) ตะเกียบ
71. คานชนิดใดบ้างที่ช่วยผ่อนแรง
1) เมื่อ FE = FW
2)
3)
4)
72. การเคลื่อนที่ด้วยแรงกิริยาคือข้อใด
1) เครื่องบิน 2) เรือหางยาว
3) จรวด 4) รถจักรยาน
73. ในการเคลื่อนที่สู่อวกาศสิ่งที่เป็นอุปสรรคมากที่สุดคือข้อใด
1) ก๊าซไนโตรเจน 2) มวล
3) แรงเสียดทาน 4) เชื้อเพลิง
74. ข้อใดคือหลักของเครื่องกล
1) เครื่องผ่อนแรง
2) เครื่องผ่อนแรงและเครื่องอำนวยความสะดวก
3) เครื่องผ่อนแรงและผ่อนงาน
4) ถ้าออกแรงพยายามมากจะได้ภาระงานน้อย
75. งานที่ได้จากสูตร W = F x S ข้อใดบ้างที่เกิดงาน
1) S = 0 2) F = 0
3) F ตั้งฉากกับ S 4) F ไม่ตั้งฉากกับ S
76. ในการดูลายมือ หมอดูมักจะใช้แว่นขยายซึ่งทำด้วยเลนส์นูน ภาพที่เกิดขึ้นจะเป็น
อย่างไร
1) มีขนาดใหญ่กว่าวัตถุเสมอ
2) เป็นภาพจริงและมีขนาดใหญ่กว่าวัตถุเสมอ
3) เป็นภาพเสมือนขนาดใหญ่กว่าวัตถุ ระยะระหว่างจุดโฟกัส
4) เป็นภาพจริงและภาพเสมือนก็ได้
77. ถ้าใช้แว่นขยายที่มีความยาวโฟกัส f ระยะวัตถุ s จะมีค่าในข้อใดภาพจึงจะชัดเจน
1) f = s 2) s > f
3) s < f 4) f < s < 2f
78. พลังงานแสงอาทิตย์จำเป็นต่อการประกอบอาชีพใดมากที่สุด
1) ทำนาข้าว 2) ทำนาเกลือ
3) ทำไร่ชากาแฟ 4) ทำไร่ยาสูบ

79. R1 R2 R3
R1 = 8 โอห์ม
R2 = 10 โอห์ม
R3 = 5 โอห์ม
จากรูป ค่าความต้านทานทั้งหมดคือข้อใด
1) 23 โอห์ม 2) 15 โอห์ม
3) 13 โอห์ม 4) 18 โอห์ม
80. จากสมการ CaC2 + H2O Ca(OH)2 + C2H2 + heat ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น
เป็นแบบใด
1) ปฏิกิริยานิวเคลียร์ 2) ปฏิกิริยาคายความร้อน
3) ปฏิกิริยาดูดความร้อน 4) ถูกทุกข้อ
81. หลอดไฟฟ้าหลอดหนึ่งมีความต้านทาน 110 โอห์ม จงหากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน
หลอดไฟฟ้า โดยกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านมีความต่างศักย์ระหว่างปลายขั้ว ทั้งสองเป็น 220 โวลต์
1) 2 แอมแปร์ 2) 0.5 แอมแปร์
3) 50 แอมแปร์ 4) 11 แอมแปร์
82. ข้อใดเป็นการถ่ายโอนพลังงานความร้อนแบบการพาความร้อน
1) อาหารสุกจากการนึ่ง 2) การเผาเส้นลวด
3) ช้อนโลหะจุ่มน้ำร้อน 4) นั่งผิงไฟ
83. วัตถุเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว ถ้าให้พลังงานความร้อนเท่ากัน วัตถุชนิดใด
จะขยายตัวได้ดีที่สุด
1) ทองแดง 2) น้ำ
3) ก๊าซออกซิเจน 4) แคลเซียม



84. วางวัตถุอยู่หน้าเลนส์ห่างจากเลนส์ 5 เซนติเมตร มีความยาวโฟกัส 10 เซนติเมตร
ข้อใดคือชนิดและขนาดของภาพ
1) ภาพเสมือนหัวตั้งขนาดใหญ่กว่าวัตถุ
2) ภาพเสมือนหัวกลับขนาดใหญ่กว่าวัตถุ
3) ภาพเสมือนหัวตั้งขนาดเล็กกว่าวัตถุ
4) ภาพจริงขนาดเท่ากับวัตถุ
85. ลวดตัวนำไฟฟ้าจะมีความต้านทานไฟฟ้าลดลงเมื่อทำให้ลวดเป็นอย่างไร
1) ขนาดเล็กและสั้นลง 2) ขนาดเล็กและยาวขึ้น
3) ขนาดใหญ่ขึ้นและสั้นลง 4) ขนาดใหญ่และยาวขึ้น
86. หม้ออบไฟฟ้าใบหนึ่งใช้กำลังไฟฟ้า 940 วัตต์ เมื่อต่อเข้ากับความต่างศักย์ไฟฟ้า
220 โวลต์ ความต้านทานไฟฟ้าที่เกิดขึ้นคือข้อใด
1) 4.27 โอห์ม 2) 0.23 โอห์ม
3) 51.48 โอห์ม 4) 42.72 โอห์ม
87. ข้อดีของหลอดฟลูออเรสเซนต์คอมแพคคือข้อใด
1) ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา
2) ขณะใช้งานหลอดจะมีความร้อนมากกว่าหลอดมีไส้
3) กินไฟมากกว่าหลอดไส้ 4 เท่า
4) มีความสว่างน้อยกว่าหลอดไส้
88. เรานำหลักการสะท้อนกลับหมดของแสงมาใช้ประโยชน์ในการประดิษฐ์ในข้อใด
1) เลเซอร์ 2) เส้นใยแสง
3) แท่งทับทิม 4) เลเซอร์กึ่งตัวนำ
89. หลักเกณฑ์ในการแบ่งดินออกเป็น 3 ประเภท คือข้อใด
1) สีของเนื้อดิน 2) ขนาดของเนื้อดิน
3) การดูดซึมน้ำของเนื้อดิน 4) แร่ธาตุที่อยู่ในดิน
90. ขั้วโลกใต้มีขั้วแม่เหล็กโลกคือข้อใด
1) ขั้วลบ 2) ขั้วใต้
3) ขั้วบวก 4) ขั้วเหนือ
91. สารในข้อใดจัดเป็นสารแม่เหล็ก
1) โคบอลต์ นิเกิล เหล็ก 2) สังกะสี แพลทินัม อะลูมิเนียม
3) ทองคำ อะลูมิเนียม ปรอท 4) โซเดียมคลอไรด์ สังกะสี ทองคำ
92. การระเหยของสารละลายในข้อใดทำให้เกิดหินงอก หินย้อย
1) ไนโตรเจนไดออกไซด์
2) แคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต
3) แคลเซียมคาร์บอเนต
4) กรดกำมะถัน
93. ขณะที่อุณหภูมิถึงจุดน้ำค้าง อากาศจะมีความชื้นสัมพัทธ์เท่าใด
1) 100% 2) 80%
3) 60% 4) 50%
94. ข้อใดคือประโยชน์ของโอโซนต่อโลกมนุษย์
1) แตกตัวทำให้ได้ก๊าซออกซิเจนมากขึ้น
2) ช่วยลดการสะท้อนของคลื่นวิทยุ
3) ช่วยให้ความหนาแน่นของอากาศมากขึ้น
4) ช่วยดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลต
95. ในอากาศแห่งหนึ่งมีปริมาตร 10 ลูกบาศก์เมตร มีมวล 14 กิโลกรัม จะมีความ
หนาแน่นเท่าใด
1) 1.4 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร 2) 0.71 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
3) 140 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร 4) 14 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร
96. แผ่นเปลือกโลกในข้อใดที่รองรับพื้นที่ประเทศไทย
1) แผ่นแอนตาร์กติก 2) แผ่นแปซิฟิก
3) แผ่นยูเรเชีย 4) แผ่นอินเดีย
97. ก๊าซชีวภาพ หรือ biogas หมายถึงข้อใด
1) บิวเทน 2) อีเทน
3) มีเทน 4) โพรเทน

98. ข้อใดคือความหมายของเอกภพ
1) การศึกษาเรื่องราวของวัตถุต่างๆ ในท้องฟ้า
2) กลุ่มก๊าซและกลุ่มฝุ่นผงในอวกาศ
3) ระบบของดาราจักรเป็นบริเวณกว้างใหญ่ไพศาล
4) แหล่งรวบรวมดาวฤกษ์
99. กลุ่มดาวเต่ามีอีกชื่อหนึ่งว่าอย่างไร
1) ดาวลูกไก่ 2) ดาวประจำเมือง
3) ดาวไถ 4) ดาวนายพราน
100. ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ระบบสุริยะมากที่สุดคือข้อใด
1) อัลฟ่าเซจูรี 2) ดาวพรอกซิมา เซนทอรี
3) แมกเจลแลน 4) ควอซาร์

No comments:

Post a Comment

ได้ข้อมูลแล้ว ก็ช่วยกันคอมเม้นด้วยนะค่ะ