ค้นหาข้อสอบ ในเว็บไซต์แห่งนี้

Friday, November 20, 2009

ข้อควรปฏิบัติในระหว่างการสอบ

ข้อควรปฏิบัติในระหว่างการสอบ
- ตั้งใจอ่านคำสั่งให้ : นักศึกษาบางคนทำข้อสอบจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงหัดมาอ่านคำสั่ง และพบว่าสิ่งที่ตนเองทำไปนั้นผิดไปจากคำสั่งที่ปรากฏ นอกจากนี้นักศึกษาจะต้องใส่ใจกับอาจารย์ผู้คุมห้องสอบด้วย เพราะบางครั้งมีการเติมข้อความที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สอบ หรือมีการแก้คำผิดหรือการบอกให้เติมคำตอบในกระดาษพิเศษที่แยกต่างหากออกไป
- เลือกข้อสอบอย่างระมัดระวัง : อ่านข้อสอบอย่างระมัดระวังทั้งหมด และเลือกตัดสินใจว่าจะทำข้อใดก่อน
- พิจารณาดูถึงความต้องการของอาจารย์ที่จะให้ท่านตอบ เช่น “อธิบายพอสังเขป” “อธิบายพอสังเขป” “อธิบายอย่างละเอียด” “จงให้ความหมาย” จงเปรียบเทียบ “จงวิเคราะห์” เป็นต้น
- ระมัดระวังเรื่องระยะเวลาที่กำหนด : อย่าเสียเวลามากในการทำข้อสอบบางข้อ ท่านจะต้องแบ่งเวลาสอบแต่ละข้อให้ดี โดยดูจากคะแนน นอกจากนี้ควรมีเวลาสำหรับการตรวจดูความเรียบร้อยก่อนส่งกระดาษคำตอบ
- วางโครงร่างเนื้อหาที่ท่านจะตอบ : ก่อนตอบคำถามแต่ละข้อพยามยามนึกถึงประเด็นสำคัญ จดประเด็นเหล่านั้นลงในขอบกระดาษคำตอบอย่างเป็นระเบียบ เพื่อที่เวลานักศึกษาบรรยายคำตอบจะได้ไม่หลงลืมประเด็นสำคัญที่ควรจะตอบเหล่านี้ อีกทั้งในกรณีที่หมดเวลา อย่างน้อยนักศึกษาก็แสดงให้อาจารย์ได้ทราบถึงความรู้ที่นักศึกษามี แต่ตอบไม่ทัน นักศึกษาอาจจะได้คะแนนเพิ่มมาบ้างก็ได้
- เขียนให้อ่านออก : เขียนให้เร็ว แต่ต้องให้อ่านออก การเขียนขยุกขยิก เขียนอ่านยาก ทำให้อาจารย์ผู้ตรวจข้อสอบต้องมานั่งสะกดว่านักศึกษาเขียนอะไรบ้าง ก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
- ตอบให้ตรงประเด็นคำถาม : อย่าบรรยายชนิด “น้ำท่วมทุ่งหาผักบุ้งไม่เจอ” สิ่งที่อาจารย์ต้องการคือ คุณภาพของคำตอบ ไม่ใช่ปริมาณความยาวของคำตอบ การเขียนบรรยายมากมาย แต่ไม่เน้นประเด็นคำตอบให้ดี แสดงว่านักศึกษาไม่รู้คำถามนั้นหมายถึงอะไร ต้องการคำตอบอะไร และควรระมัดระวังเรื่องภาษาด้วย ควรเขียนคำตอบโดยใช้ภาษาที่ถูกต้อง การสะกดคำ โดยเฉพาะคำ technical term ที่เป็นภาษาเขียน ต้องถูกต้อง ไม่ใช้คำย่อ (ยกเว้นเป็นที่ยอมรับ)
- อย่ายอมแพ้ : ถึงแม้จะรู้สึก “หมดหวัง” อย่าตกใจ อย่าออกจากห้องสอบ มิฉะนั้นนักศึกษาจะพลาดโอกาสทั้งหมด แต่ถ้านักศึกษาตั้งสติพยายามรวบรวมสิ่งที่พอจะรู้ และนำมาตอบ นักศึกษาอาจจะได้คะแนนบ้าง
- อย่าลืมว่า บางครั้งพอนักศึกษาเริ่มเขียน นักศึกษาอาจจะนึกบางสิ่งบางอย่างออกขณะที่ครั้งเริ่มแรกคิดว่าตัวเองไม่รู้ อย่าออกจากห้องสอบเร็วเกินควร ใช้เวลาที่เหลือให้เป็นประโยชน์ เพื่อให้แน่ใจว่าได้ทำข้อสอบที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
- การหมดเวลา : ให้เหลือเวลาไว้สัก 10 นาที ก่อนส่งกระดาษหรือหมดเวลา เพื่อที่จะได้ตรวจทานคำตอบและคำสั่งให้ดีเสียก่อน เพื่อแก้ไขสิ่งที่อาจเขียนผิดหรือตกหล่น

เทคนิคการอ่าน
ในการสอนบรรยายของอาจารย์แต่ละท่าน ในแต่ละชั่วโมง อาจจะสร้างอารมณ์และความรู้สึกที่ หลากหลายเกิดขึ้นในตัวนักศึกษา บางครั้งนักศึกษาจะรู้สึกว่าชั่วโมงนี้อาจารย์สอนน่าเบื่อเป็นที่สุด บางครั้งอาจารย์ก็สอนแสนที่จะสับสน บางครั้งอาจารย์สอนน่าสนใจ น่าตื่นเต้น อารมณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ … นักศึกษาเชื่อหรือไม่ มักจะมีสาเหตุมาจากตัวนักศึกษาเอง นักศึกษาได้เตรียมตัวพร้อมหรือไม่สำหรับการเข้ารับการบรรยายของอาจารย์ในชั่วโมงนั้น ๆ


SQ3R : Survey (สำรวจ) Question (ตั้งคำถาม) Read (อ่าน)
Recall (ฟื้นความจำ) และ Review (ทบทวน)

PQRST : Preview (อ่านคร่าว ๆ ล่วงหน้า) Question (ตั้งคำถาม)
Read (อ่าน) Summary (ย่อ) Test (ทดสอบ)

PAGE : Prepare (เตรียมตัว) Ask (ถาม) Gather (รวบรวม)
Evaluate (ประเมิน)



ในบรรดาวิธีการต่าง ๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนี้ นักศึกษาจะเลือกวิธีใดก็ได้ที่เหมาะสมกับตนเอง แต่วิธีที่มีผู้นิยมใช้กันมากได้แก่ SQ3R ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

SQ3R
Survey (สำรวจ) :
- สำรวจดูว่าหนังสือเล่มนี้มีหัวข้อเกี่ยวกับเรื่องอะไร ? ใครเป็นคนเขียน ? มีพื้นฐาน
ความรู้อย่างไร ? พิมพ์เมื่อไร ?
- อ่านคำแนะนำและศึกษาว่าผู้เขียนต้องการเขียนตำราเล่มนี้เพื่อให้บุคคลกลุ่มใดอ่าน
มีจุดประสงค์จะครอบคลุมเรื่องใดบ้าง ผู้เขียนแนะนำวิธีการอ่านหรือไม่
- เนื้อหาในหนังสือกล่าวถึงอะไรบ้าง
- อ่านดรรชนี เพื่อหาบทความที่เฉพาะเจาะจง
- มีภาพประกอบ/แผนภูมิหรือไม่
- มีการสรุปย่อแต่ละบทหรือไม่
- มีสัญลักษณ์บ่งชี้ เช่น ขนาดตัวอักษร การขีดเส้นใต้ ลำดับความสำคัญของการจัดวาง
หัวข้อซึ่งบ่งบอกถึงระดับความสำคัญของแต่ละหัวข้อ

Question (ตั้งคำถาม) :
- ก่อนอ่านหนังสือ นักศึกษาน่าจะมีคำถามในใจไว้ล่วงหน้าว่าเราจะอ่านหนังสือเล่มนี้เพื่ออยากรู้อะไร ? อยากตอบคำถามอะไร ?
- คำถามเหล่านั้น อาจมาจากห้องเรียนหรืออาจมาจากตัวนักศึกษาเองก็ได้

Read (อ่าน) :
อ่านครั้งที่ 1
- อ่านอย่างเร็วพยายามเจาะหาประเด็นสำคัญของแต่ละบท แต่ละหัวข้อ แต่ละย่อหน้า
- อย่ามัวแต่ขีดเส้นใต้ หรือป้ายปากกาสี ควรทำเครื่องหมายด้วยดินสอและเขียนอย่างเบา ๆ
- อย่ามัวแต่จดบันทึกเพราะจะทำให้สมาธิในการอ่านลดลง
อ่านครั้งที่ 2
- อ่านซ้ำอีกครั้ง คราวนี้ทำเครื่องหมายข้อความที่สำคัญ
- รวบรวมประเด็นต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
- ลองประเมินเนื้อหา (หากเป็นข้อโต้แย้งให้พิจารณาว่าอ่านแล้วดูมีเหตุผลหรือไม่ ข้อมูลที่
บอกในหนังสือดูขัดกับความจริง หรือความรู้ที่นักศึกษาเ**รู้มาหรือไม่)
- สรุปเนื้อหา เพื่อง่ายต่อการรื้อฟื้นความจำในภายหลัง

Recall (ฟื้นความจำ) :
เมื่อสิ้นสุดเนื้อหาของแต่ละบท บันทึกย่อ อย่าย่อชนิดยาวจนเกินเหตุ ซึ่งเป็นการแสดงว่า
นักศึกษายังจับประเด็นไม่ถูกต้อง

Review (ทบทวน) :
- สำรวจดูหัวข้อ (ชื่อ) ของหนังสือ หัวข้อและเนื้อหาโดยย่อของแต่ละบท
- ตรวจสอบว่าเนื้อหาที่มีนั้น ตอบคำถามที่นักศึกษามีไว้ในใจหรือไม่
- อ่านอีกครั้ง เพื่อแน่ใจว่าเราเก็บประเด็นสำคัญของหนังสือได้หมด
- เติมสิ่งที่ขาดตกบกพร่อง

วิธี SQ3R ดูเสมือนเป็นวิธีที่มีขั้นตอนมากแต่ก็เป็นวิธีที่จัดการอ่านอย่างเป็นระบบ และได้ ผล อย่างไรก็ตามวิธี SQ3R อาจไม่เหมาะสำหรับการอ่านหนังสือบางเล่ม มีผู้แนะนำเทคนิคบางอย่างที่ใช้กันในระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่ "Scan - Search - Save" มาใช้เป็นเทคนิคการอ่านตำรา

Scan (ทบทวน) :
ได้แก่การอ่านเนื้อหาอย่างหยาบ ๆ และรวดเร็ว เพื่อจับใจความว่าหนังสือนี้ประกอบด้วย
บทใดบ้าง มีบทนำ การเรียงลำดับหัวข้อเป็นเช่นใด มีแผนภูมิ รูปภาพประกอบมากน้อยเพียงใด

Search(ทบทวน) :
- หาบทที่มีเนื้อหาตรงกับความต้องการ
- หาคำตอบ เพื่อตอบคำถามที่ตั้งไว้
- ทำเครื่องหมาย (ใช้ดินสอ เขียนเบา ๆ)
- ศึกษาเนื้อหาในแต่ละย่อหน้าที่ตรงกับจุดประสงค์

Save(ทบทวน) :
- เก็บข้อมูล เนื้อหา ของโครงสร้างของแต่ละบท
- จดเนื้อหาที่สำคัญ

อัตราความเร็วในการอ่าน
ประสิทธิภาพในการอ่านหนังสือตำรานั้น มีผู้ประเมิน โดยคิดเป็นอัตราของคำต่อนาที ดังนี้
- ถ้าตำรานั้นอ่านยาก ควรใช้เวลา 100-200 คำต่อนาที
- ถ้าตำรานั้นอ่านยากปานกลาง ควรใช้เวลา 200-400 คำต่อนาที
- ถ้าอ่านเพื่อให้ได้เนื้อหากว้าง ๆ ควรใช้เวลา 500-1000 คำต่อนาที
- ถ้าอ่านอย่างรวดเร็ว พอสังเขปควรใช้เวลา 1000-1500 คำต่อนาที

จะปรับปรุงการอ่านให้เร็วขึ้นได้อย่างไร
มีผู้ให้ข้อสังเกตว่า เนื้อหาที่ปรากฏอยู่ในตำรานั้น ประมาณสองในสามเป็นการเขียนตามหลักภาษาเพื่อให้ถูกต้องตามรูปแบบและไวยากรณ์ มากกว่าที่จะเป็นเนื้อหาที่แท้จริง ดังนั้น ถ้านักศึกษาพะวงต่อการอ่านทุกคำ จะทำให้ความเร็วในการอ่านลดลง การอ่านเร็ว มิได้หมายความว่า ความเข้าใจ และการจดจำเนื้อหาจะลดลง แต่การอ่านไปหมดทุกวรรคทุกตอนจะทำให้ทั้งสายตา และจิตใจของนักศึกษา ต้องพะวักพะวงกับเนื้อหาที่มากเกินควร การอ่านอย่างมีวินัยมีระเบียบจะช่วยทำให้ประสิทธิภาพการอ่านดีขึ้น นักศึกษาอาจลองใช้วิธีการต่อไปนี้

หัดเตรียมตัว
อ่านอย่างกว้าง ๆ เพื่อจับประเด็นของเนื้อหาที่มีอยู่ในหนังสือ (การมีภูมิหลังเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านมาบ้างแล้ว จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหาได้เร็วขึ้น)
- อ่านอย่างมีจุดประสงค์ ตั้งใจและพยายามอ่านให้ทันตามเวลาที่เรากำหนด วิธีบังคับตนเองไม่ให้อ่านตามสบายชนิดตามใจตน กระทำได้โดยการลากปากกาหรือดินสอชี้นำไปตามบรรทัด นอกจากนี้จะต้องไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวนสมาธิขณะอ่านด้วย
- ละทิ้งนิสัยการอ่านที่ไม่ดี ได้แก่
. หยุดที่คำใดคำหนึ่งโดยเฉพาะ พยายามขยายกรอบของเนื้อหาให้มากขึ้น จะได้เข้าใจ
ประเด็นได้ง่ายขึ้น
. อ่านย้อนกลับไปกลับมา วิธีนี้ทำให้เสียเวลา และมีผลทำให้การเชื่อมต่อข้อความไม่ปะติดปะต่อ ทำให้จำเนื้อหาไม่ได้

พยายามลดความเมื่อยล้าของสายตาโดย
- ตรวจสุขภาพสายตาเสียบ้าง
- ให้หนังสืออยู่ห่างจากสายตาประมาณ 40 ซม. เพื่อขยายกรอบของการมองเห็น และลด
การเคลื่อนไหวของสายตา

ฝึกฝนตนให้เป็นผู้อ่านชั้นเยี่ยม
- มือข้างหนึ่งใช้พลิกหน้ากระดาษ ส่วนมืออีกข้างหนึ่งให้ลากลงมาตามบรรทัดวิธีนี้จะเป็นการควบคุมสายตา ให้เห็นคำที่จะอ่านในแต่ละครั้งมากขึ้น บังคับมิให้สายตาจ้องจดอยู่ที่คำใดคำหนึ่ง และยังเป็นการฝึกตนเองให้มีวินัยและมีสมาธิในการอ่านอีกด้วย
- กวาดสายตาไปทั่วทั้งหน้ากระดาษภายใน 5 วินาที นักศึกษาอาจจะคิดว่าไม่ได้อ่านอะไรเลย แต่นักศึกษาจะสามารถจับคำสำคัญได้อย่างรวดเร็ว และถ้าหน้าไหนอ่านยากก็อาจกลับมาอ่านอย่างช้า ๆ ได้ในภายหลัง
- ฝึกทำเช่นนี้อย่างน้อยวันละ 5 นาที ภายใน 1-2 เดือน นักศึกษาจะพบว่าตนเองสามารถอ่านได้เร็วขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว

*สุดท้ายก้อขอฝากน้องไว้สักนิดหนึ่ง*การสอบควรใช้สมาธิและความรู้ที่มีอยู่ในสมองออกมาทำงานร่วมกับจิตใจ....สำหรับคนที่มีไม่มีความรู้อะไรกรุณาจำหลักการไว้
1.ใช้หน้าตาเป็นอาวุธคือทำหน้าตาน่าสงสาร แอบแบ้วเอาไว้
2.สำหรับคนที่อยู่ทางภาคเหนือหรือคอยาวนั่นเองใช้คอนี้แหละให้เป็นประโยชน์
3.สำหรับเด็กที่อาจารย์โปรดที่สุดใช้ความสนิทสนมหลอกให้อาจารย์ออกจากห้องจากนั่นก้อ....คิดเอาเอง
4.ถ้าอาจารย์คุมเข้มมากไม่ยอมออกจากห้องให้นัดกับเพื่อนใช้สัญญานมือเอา
5.ถ้าใช้สัญานมือไม่ได้ ต้องใช้สุภาษิต อัตตาหิ อัตโนนาโธ ตนแลเป็นที่แห่งตน

No comments:

Post a Comment

ได้ข้อมูลแล้ว ก็ช่วยกันคอมเม้นด้วยนะค่ะ