ค้นหาข้อสอบ ในเว็บไซต์แห่งนี้

Monday, January 24, 2011

RE: ข้อสอบความรู้ทั่วไป 16




From: pooh_physics@hotmail.com
To: pooh_physics@hotmail.com
Subject: ข้อสอบความรู้ทั่วไป 16
Date: Wed, 16 Dec 2009 15:57:21 +0700

 
Q.1) ผู้สอนสามารถจัดการเรียนรู้ โดยเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ กับหัวข้อเรื่องที่สอดคล้องกับชีวิตจริง หรือสาระที่กำหนดขึ้นมา เช่น เรื่องสิ่งแวดล้อม น้ำ เป็นต้น ผู้สอนสามารถเชื่อมโยงสาระ และกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่มสาระต่าง ๆ เช่น การอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ต่าง ๆ ทำให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะและกระบวนการเรียนรู้ไปแสวงหาความรู้ความจริงจากหัวข้อเรื่องที่กำหนด จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 เป็นการบูรณาการในรูปแบบใด
 
  A. การบูรณาการแบบคู่ขนาน
  B. การบูรณาการแบบสหวิทยา
  C. การบูรณาการแบบโครงการ
  D. การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว (correct answer)

 
Q.2) จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 สถานศึกษาต้องจัดสาระการเรียนรู้ให้ครบทั้ง 8 กลุ่มในทุกช่วงชั้น ให้เหมาะสมกับธรรมชาติการเรียนรู้ และระดับพัฒนาการของผู้เรียนโดยมีการจัดอย่างไร
 
  A. ในช่วงการศึกษาภาคบังคับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดหลักสูตร เป็นรายปี และละชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดเป็นหน่วยกิต (correct answer)
  B. ในช่วงการศึกษาภาคบังคับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดหลักสูตร เป็นรายปี และละชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดเป็นรายปี
  C. ในช่วงการศึกษาภาคบังคับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดหลักสูตร เป็นรายภาค และละชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดเป็นหน่วยกิต
  D. ในช่วงการศึกษาภาคบังคับ คือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดหลักสูตร เป็นหน่วยกิต และละชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จัดเป็นหน่วยกิต
 
Q.3) ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จะต้องพิจารณาทั้งเวลาการเข้าร่วมกิจกรรม การปฏิบัติกิจกรรมและผลงานของผู้เรียน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด และให้ผลการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นเช่นไรบ้าง
 
  A. ผ่านและไม่ผ่าน (correct answer)
  B. ดีมาก ดี และผ่าน
  C. ดีมาก ดี ผ่าน และไม่ผ่าน
  D. ดีเยี่ยม ดี ผ่าน และไม่ผ่าน
 
Q.4) การจัดการเรียนรู้ที่ต้องสนองตอบต่อความสนใจของผู้เรียน โดยคำนึงถึงหลักจิตวิทยาพัฒนาการ และจิตวิทยาการเรียนรู้ ทั้งนี้ ในแต่ละคาบเวลาเรียนนั้น ไม่ควรใช้เวลานานเกินความสนใจของผู้เรียน สถานศึกษาต้องจัดการเรียนรู้ให้ครบทุกกลุ่มสาระ ในลักษณะบูรณาการที่มีภาษาไทยและคณิตศาสตร์เป็นหลัก เน้นการเรียนรู้ตามสภาพจริง มีความสนุกสนาน ได้ปฏิบัติจริง เพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ ทักษะพื้นฐานการติดต่อสื่อสารในการคิดคำนวณ การคิดวิเคราะห์ และพัฒนาลักษณะนิสัยและสุนทรียภาพ จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 เป็นแนวการจัดการเรียนรู้ในช่วงชั้นใด
 
  A. ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 (correct answer)
  B. ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
  C. ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
  D. ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
 
Q.5) นำเนื้อหาจากหลายกลุ่มสาระมาเชื่อมโยงเพื่อจัดการเรียนรู้ ซึ่งโดยทั่วไปผู้สอนมักจัดการเรียนการสอนแยกตามรายวิชา หรือกลุ่มวิชา แต่ในบางเรื่อง ผู้สอนจัดการเรียนการสอนร่วมกันในเรื่องเดียวกัน เช่น เรื่องวันสิ่งแวดล้อมของชาติ ผู้สอนภาษาไทยจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนรู้ภาษา   คำศัพท์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ผู้สอนวิทยาศาสตร์จัดกิจกรรมค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม  ผู้สอนสังคมศึกษาให้ผู้เรียนค้นคว้าหรือทำกิจกรรมชมรมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม     และครู ผู้สอนสุขศึกษาอาจจัดให้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ เป็นต้น จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 เป็นการบูรณาการในรูปแบบใด
 
  A. การบูรณาการแบบคู่ขนาน
  B. การบูรณาการแบบสหวิทยา (correct answer)
  C. การบูรณาการแบบโครงการ
  D. การบูรณาการแบบผู้สอนคนเดียว
 
Q.6) สาระการเรียนรู้ มีองค์ประกอบ 3 ด้าน ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบดังกล่าว
 
  A. องค์ความรู้
  B. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (correct answer)
  C. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
  D. ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้
 
Q.7) จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 หน่วยงานใดเป็นผู้จัดทำหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544
 
  A. สถานศึกษา (correct answer)
  B. คณะกรรมการสถานศึกษา
  C. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  D. สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
 
Q.8) ผู้สอนต้องกำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน ให้ครอบคลุมในด้านบ้าง
 
  A. ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการ
  B. ความรู้ ความเข้าใจ คุณลักษณะอันพึงประสงค์
  C. ความรู้ความเข้าใจ ความคงทน ทักษะกระบวนการ
  D. ความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (correct answer)
 
Q.9) ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตัดสินผลการเรียนในระดับประถมศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
 
  A. ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนในรายวิชาพื้นฐาน (correct answer)
  B. ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมด
  C. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
  D. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
 
Q.10) ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์ของบันทึกผลหลังสอน 
 
  A. แก้ไขปัญหาของผู้เรียน
  B. ใช้ในการกำหนดสาระการเรียนรู้ (correct answer)
  C. สามารถนำไปวิจัยในชั้นเรียนต่อได้
  D. ได้เห็นปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการสอน
 
Q.11) การจัดโครงสร้างเวลาเรียนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กำหนดเวลาเรียนกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในแต่ละระดับชั้นเป็นจำนวนกี่ชั่วโมง
 
  A. 40 ชั่วโมง
  B. 90 ชั่วโมง
  C. 100 ชั่วโมง
  D. 120 ชั่วโมง (correct answer)
 
Q.12) การสร้างหลักสูตรสถานศึกษาตามแนวทางหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 ข้อใดเรียงลำดับได้ถูกต้อง
1) กำหนดวิสัยทัศน์
       2) การจัดหลักสูตรสถานศึกษา
       3) การออกแบบการเรียนการสอน
       4) การกำหนดเวลาเรียนและจำนวนหน่วยกิต
       5) การกำหนดสาระการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีหรือรายภาค
 
  A. 1 2 3 4 5
  B. 1 3 4 5 2
  C. 1 5 4 3 2
  D. 1 2 5 3 4 (correct answer)
 
Q.13) การจัดเวลาเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค โดยมีเวลาเรียนเช่นไร 
 
  A. วันละไม่เกิน 5 ชั่วโมง
  B. วันละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
  C. วันละไม่เกิน 6 ชั่วโมง
  D. วันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง (correct answer)
 
Q.14) จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 ข้อใดเป็นสาระการเรียนรู้ที่เสริมสร้างพื้นฐานความเป็นมนุษย์ และสร้างศักยภาพในการคิดและการทำงานอย่างสร้างสรรค์
 
  A. สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์
  B. สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และคณิตศาสตร์
  C. สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ (correct answer)
  D. สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี และสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
 
Q.15) การคิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียนเป็นหน่วยกิต ใช้เกณฑ์กี่ชั่วโมงต่อภาคเรียน มีค่าน้ำหนักวิชา เท่ากับ ๑ หน่วยกิต (นก.)
 
  A. 20 ชั่วโมง
  B. 40 ชั่วโมง (correct answer)
  C. 60 ชั่วโมง
  D. 120 ชั่วโมง
 
Q.16) ข้อใดไม่น่าจะมีปรากฏในหน่วยการเรียนรู้ที่ยึดหลักการ Backward Design
 
  A. การนิเทศผู้เรียน (correct answer)
  B. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
  C. แนวทางการให้คะแนน(rubric)
  D. ผลงาน/การปฏิบัติงานรวบยอด
 
Q.17) การจัดโครงสร้างเวลาเรียนของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จัดไว้อย่างไรบ้าง
 
  A. ระดับประถมศึกษา (ป.1-6) ไม่เกิน 1,000 ชั่วโมง/ปี
  B. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) ไม่เกิน 1,200 ชั่วโมง/ปี
  C. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) รวม 3 ปี ไม่น้อยกว่า 3,600 ชั่วโมง
  D. ทุกข้อที่กล่าวมา (correct answer)
 
Q.18) จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  แบ่งเป็น ๓ ลักษณะ มีอะไรบ้าง
 
  A. กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมดูแลช่วยเหลือนักเรียน
  B. กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด
  C. กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม
  D. กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ (correct answer)
 
Q.19) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 ได้กำหนดโครงสร้างของหลักสูตรเป็นกี่ช่วงชั้น
 
  A. 3 ช่วงชั้น
  B. 4 ช่วงชั้น (correct answer)
  C. 5 ช่วงชั้น
  D. 6 ช่วงชั้น
 
Q.20) การจัดเวลาเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี โดยมีเวลาเรียนเช่นไร 
 
  A. วันละไม่เกิน 5 ชั่วโมง (correct answer)
  B. วันละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
  C. วันละไม่เกิน 6 ชั่วโมง
  D. วันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
 
Q.21) ข้อใดคือขั้นตอนแรกของ Backward Design
 
  A. กำหนดทักษะกระบวนการ
  B. กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
  C. กำหนดเป้าหมาย/ผลลัพธ์ที่ต้องการ (correct answer)
  D. กำหนดหลักฐานในระดับที่ยอมรับได้
 
Q.22) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551 จัดระดับการศึกษาเป็นกี่ระดับ มีอะไรบ้าง
 
  A. 2 ระดับ คือ ระดับภาคบังคับ (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6) ระดับขั้นพื้นฐาน (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6)
  B. 2 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6) ระดับมัธยมศึกษา (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6)
  C. 3 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6) (correct answer)
  D. 4 ระดับ คือ ระดับปฐมวัย (ชั้นอนุบาลปีที่ 1– 2) ระดับประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6)
 
Q.23) บทบาทของผู้สอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผู้สอนต้องดำเนินการขั้นตอนใดเป็นอันดับแรก
 
  A. ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล (correct answer)
  B. กำหนดเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
  C. ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย
  D. วิเคราะห์ผลการประเมินมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน
 
Q.24)
จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 หลักสูตรที่มุ่งเน้นการศึกษาเพื่อเพิ่มพูน
ความรู้ และทักษะเฉพาะด้าน มุ่งปลูกฝังความรู้ ความสามารถ และทักษะในวิทยาการและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษา และการประกอบอาชีพ มุ่งมั่นพัฒนาตนและประเทศตามบทบาทของตน สามารถเป็นผู้นำ และผู้ให้บริการชุมชนในด้านต่าง ๆ อยู่ในช่วงชั้นใด
 
  A. ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
  B. ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
  C. ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
  D. ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (correct answer)
 
Q.25) จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 ข้อใดเป็นสาระการเรียนรู้ที่สถานศึกษาต้องใช้เป็นหลักในการจัดการเรียนการสอน เพื่อสร้างพื้นฐานการคิดและเป็นกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาและวิกฤตของชาติ
 
  A. ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ
  B. ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม (correct answer)
  C. ภาษาไทย คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  D. ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
 
Q.26) ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 การประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์นั้น ให้ระดับผลการประเมินเป็นเช่นไรบ้าง
 
  A. ผ่านและไม่ผ่าน
  B. ดีเยี่ยม ดี และผ่าน (correct answer)
  C. ดีมาก ดี ผ่าน และไม่ผ่าน
  D. ดีเยี่ยม ดี ผ่าน และไม่ผ่าน
 
Q.27) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551 มีอะไรบ้าง
 
  A. ความสามารถในการสื่อสาร, ความสามารถในการคิด, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต, ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี (correct answer)
  B. ความสามารถในการสื่อสาร, ความสามารถในการคิดวิเคราะห์, ความสามารถในการอ่านเขียน, ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต, ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
  C. ความสามารถในการสื่อสาร, ความสามารถในการอ่านเขียน, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต, ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
  D. ความสามารถในการสื่อสาร, ความสามารถในการทำงาน, ความสามารถในการแก้ปัญหา, ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต, ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
 
Q.28) ข้อใดไม่น่าจะมีปรากฏในแผนการจัดการเรียนรู้ที่ยึดหลักการ Backward Design
 
  A. ปัญหาของผู้เรียน (correct answer)
  B. เป้าหมายการเรียนรู้
  C. สาระสำคัญ (concepts ความคิด ทักษะ กระบวนการ)
  D. กิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้
 
Q.29) ในการสร้างหน่วยการเรียนรู้นั้น ตามแนวทางของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 หน่วยการเรียนรู้แต่ละหน่วยประกอบด้วยอะไรบ้าง
 
  A. สาระการเรียนรู้ กิจกรรม และจำนวนเวลา
  B. มาตรฐานการเรียนรู้ กิจกรรม และจำนวนเวลา
  C. มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ และกิจกรรม
  D. มาตรฐานการเรียนรู้ สาระการเรียนรู้ และจำนวนเวลา (correct answer)
 
Q.30) ว 1.2 ป. 1/2  หมายความถึงอะไร
 
  A. ว คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1.2 คือ มาตรฐานข้อที่ 1 สาระที่ 2 ป. 1/2 คือ ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ข้อที่ 2
  B. ว คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1.2 คือ สาระที่ 1 มาตรฐานข้อที่ 2 ป. 1/2 คือ ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ข้อที่ 2 (correct answer)
  C. ว คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1.2 คือ มาตรฐานข้อที่ 1 สาระที่ 2 ป. 1/2 คือ ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สมรรถนะที่ 2
  D. ว คือ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 1.2 คือ สาระที่ 1 มาตรฐานข้อที่ 2 ป. 1/2 คือ ตัวชี้วัดชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สมรรถนะที่ 2
 
Q.31) เพื่อให้การใช้สื่อการเรียนรู้เป็นไปตามแนวการจัดการเรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริง จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 การจัดทำและจัดหาสื่อการเรียนรู้ ควรใช้สื่อประเภทใด
 
  A. สื่อนวัตกรรม
  B. สื่อคอมพิวเตอร์
  C. สื่อเทคโนโลยี
  D. สื่อที่มีอยู่ในท้องถิ่น (correct answer)
 
Q.32) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551 มีอะไรบ้าง
 
  A. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์, ซื่อสัตย์สุจริต, ขยัน, ประหยัด, อยู่อย่างพอเพียง, มุ่งมั่นในการทำงาน, รักความเป็นไทย, มีจิตสาธารณะ
  B. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์, ซื่อสัตย์สุจริต, มีวินัย, ประหยัด, อยู่อย่างพอเพียง, มุ่งมั่นในการทำงาน, รักความเป็นไทย, มีจิตสาธารณะ
  C. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์, ซื่อสัตย์สุจริต, มีวินัย, มีคุณธรรม, อยู่อย่างพอเพียง, มุ่งมั่นในการทำงาน, รักความเป็นไทย, มีจิตสาธารณะ
  D. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์, ซื่อสัตย์สุจริต, มีวินัย, ใฝ่เรียนรู้, อยู่อย่างพอเพียง, มุ่งมั่นในการทำงาน, รักความเป็นไทย, มีจิตสาธารณะ (correct answer)
 
Q.33) ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผู้สอนต้องดำเนินการขั้นตอนใดเป็นอันดับแรก
 
  A. วิเคราะห์หน่วยการเรียนรู้
  B. สร้างเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
  C. เลือกใช้วิธีสอนและเทคนิคการสอน สื่อ/แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล
  D. ศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาให้เข้าใจถึงมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียน (correct answer)
 
Q.34)
จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 สถานศึกษาสามารถจัดทำสาระการ
เรียนรู้เพิ่มเติม เป็นหน่วยการเรียนรู้รายวิชาใหม่ ๆ รายวิชาที่มีความเข้มขึ้นอย่างหลากหลาย ให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนอย่างไรบ้าง
 
  A. ตามความถนัด ความสนใจ ความพร้อม และความแตกต่างระหว่างบุคคล
  B. ตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการ และความแตกต่างระหว่างบุคคล (correct answer)
  C. ตามความถนัด ความพร้อม ความต้องการ และความแตกต่างระหว่างบุคคล
  D. ตามความถนัด ความเหมาะสม ความต้องการ และความแตกต่างระหว่างบุคคล
 
Q.35) ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลือกและใช้สื่อการเรียนรู้
 
  A. เลือกและใช้สื่อที่มีคุณภาพ
  B. เลือกและใช้สื่อที่ดัดแปลงสภาพ (correct answer)
  C. เลือกและใช้สื่อที่มีความเหมาะสม
  D. เลือกและใช้สื่อที่มีความหลากหลาย
 
Q.36) การจัดเวลาเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค โดยมีเวลาเรียนเช่นไร 
 
  A. วันละไม่เกิน 5 ชั่วโมง
  B. วันละไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
  C. วันละไม่เกิน 6 ชั่วโมง (correct answer)
  D. วันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
 
Q.37) ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการตัดสินผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
 
  A. ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนในรายวิชาพื้นฐาน (correct answer)
  B. ตัดสินผลการเรียนเป็นรายวิชา ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนตลอดภาคเรียนไม่น้อย กว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนทั้งหมดในรายวิชานั้น ๆ
  C. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมินทุกตัวชี้วัด และผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
  D. ผู้เรียนต้องได้รับการประเมิน และมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด ในการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
 
Q.38) ข้อใดคือสิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551
 
  A. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน (correct answer)
  B. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
  C. กระบวนการพัฒนาทักษะชีวิต
  D. กระบวนการพัฒนาความรู้และคุณธรรม
 
Q.39) จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 หลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสำรวจความสามารถ ความถนัด ความสนใจตนเอง และพัฒนาบุคลิกภาพส่วนตน พัฒนาความสามารถ ทักษะพื้นฐานด้านการเรียนรู้ และทักษะในการดำเนินชีวิต ให้มีความสมดุล ทั้งด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ ความดีงาม และความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถเสริมสร้างสุขภาพส่วนตนและชุมชน มีความภูมิใจในความเป็นไทย ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ
 
  A. ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3
  B. ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
  C. ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 (correct answer)
  D. ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6
 
Q.40) กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ให้สถานศึกษาจัดสรรเวลาให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรม อย่างไรบ้าง
 
  A. ระดับประถมศึกษา (ป.1-6) รวม 6 ปี จำนวน 60 ชั่วโมง
  B. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) รวม 3 ปี จำนวน 45 ชั่วโมง
  C. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.4-6) รวม 3 ปี จำนวน 60 ชั่วโมง
  D. ทุกข้อที่กล่าวมา (correct answer)
 
Q.41) จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 กลุ่มสาระการเรียนรู้ใดในช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ที่จะควรใช้เวลาประมาณร้อยละ ๕๐ ของเวลาเรียนทั้งหมดในแต่ละสัปดาห์
 
  A. ภาษาไทย
  B. ภาษาไทย คณิตศาสตร์ (correct answer)
  C. ภาษาไทย วิทยาศาสตร์
  D. ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
 
Q.42)
จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 มาตรฐานการเรียนรู้เป็นข้อกำหนด
คุณภาพผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะ กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมของแต่ละกลุ่ม เพื่อใช้เป็นจุดมุ่งหมายในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ซึ่งกำหนดเป็น 2  ลักษณะ คืออะไรบ้าง
 
  A. มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน + มาตรฐานการเรียนรู้รายปี
  B. มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน + มาตรฐานการเรียนรู้รายภาค
  C. มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน + มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น (correct answer)
  D. มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน + มาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาภาคบังคับ
 
Q.43) ตัวชี้วัดชั้นปีและตัวชี้วัดช่วงชั้น แตกต่างกันอย่างไร
 
  A. ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6) ส่วนตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับระดับการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3)
  B. ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3) ส่วนเป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนใน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6)
  C. ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาภาคบังคับ (ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 3) ส่วนตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (มัธยมศึกษาปีที่ 4- 6) (correct answer)
  D. ตัวชี้วัดชั้นปี เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแต่ละชั้นปีในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน(ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6) ส่วนตัวชี้วัดช่วงชั้น เป็นเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนใน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6)
 
Q.44) วัตถุประสงค์ของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนคือข้อใด
 
  A. เพื่อพัฒนาผู้เรียน
  B. เพื่อตัดสินผลการเรียน
  C. เพื่อพัฒนาและปรับปรุงผู้เรียน
  D. เพื่อพัฒนาผู้เรียนและเพื่อตัดสินผลการเรียน (correct answer)
 
Q.45)
การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวทางหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 ข้อใดเรียงลำดับได้ถูกต้อง
     1) การวิเคราะห์ปัญหา 
     2) การเก็บรวบรวมข้อมูล 
     3) การรายงานผลการเรียนรู้ 
     4) การนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้
     5) การวางแผนแก้ปัญหาหรือพัฒนา 
     6) การดำเนินการแก้ปัญหาหรือพัฒนา 
     7) การสรุปผลการแก้ปัญหาหรือพัฒนา 
 
  A. 1 2 5 6 7 3 4
  B. 1 5 2 6 7 3 4
  C. 1 2 3 4 5 6 7
  D. 1 5 6 2 7 3 4 (correct answer)
 
Q.46) จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 กลุ่มภาษาต่างประเทศ กำหนดให้เรียนภาษาอังกฤษในระดับชั้นใดบ้าง
 
  A. อ.1-ม.6
  B. ป.1-ม.6 (correct answer)
  C. ป.3-ม.6
  D. อ.1-ม.6
 
Q.47) ข้อใดไม่ใช่กิจกรรมนักเรียน ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551
 
  A. กิจกรรมชุมนุม ชมรม
  B. กิจกรรมนักศึกษาวิชาทหาร
  C. กิจกรรมดูแลช่วยเหลือนักเรียน (correct answer)
  D. กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด ผู้บำเพ็ญประโยชน์
 
Q.48) ข้อใดคือเรียนรู้จากการเรียนการสอนทางอ้อม
 
  A. ผู้สอนอธิบายให้ฟัง (correct answer)
  B. ปฏิบัติการโครงการ
  C. แผนผังความคิด
  D. การแก้ปัญหา
 
Q.49) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544  กำหนดเวลาในการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนไว้ ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
 
  A. ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 มีเวลาเรียนประมาณปีละ 800-1,000 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยวันละ 4 - 5 ชั่วโมง
  B. ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 มีเวลาเรียนประมาณปีละ 1,000-1,200 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยวันละ 4 - 5 ชั่วโมง (correct answer)
  C. ช่วงชั้นที่ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 มีเวลาเรียนประมาณปีละ 1,000-1,200 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยวันละ 4 - 5 ชั่วโมง
  D. ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 5 มีเวลาเรียนปีละไม่น้อยกว่า 1,200 ชั่วโมง โดยเฉลี่ยวันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
 
Q.50) ในกรณีที่ผู้เรียนไม่ผ่านตัวชี้วัดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ผู้สอนต้องดำเนินการเช่นไร
 
  A. สอบแก้ตัว
  B. สอนซ่อมเสริม (correct answer)
  C. สอบซ่อมเสริม
  D. สอนรายวิชาเพิ่มเติม
 
Q.51) จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 เรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษา หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ในสาระการเรียนรู้กลุ่มต่าง ๆ 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ข้อใดไม่ใช่กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่กำหนดเรื่องสิ่งแวดล้อมศึกษาไว้
 
  A. วิทยาศาสตร์
  B. สุขศึกษาและพลศึกษา
  C. การงานอาชีพและเทคโนโลยี (correct answer)
  D. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
Q.52) จากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2544 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนแบ่งเป็น 2 ลักษณะคืออะไรบ้าง
 
  A. กิจกรรมแนะแนว + กิจกรรมนักเรียน (correct answer)
  B. กิจกรรมแนะแนว + กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด
  C. กิจกรรมนักเรียน + กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์
  D. กิจกรรมแนะแนว + กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด และผู้บำเพ็ญประโยชน์


Windows 7 ใหม่: ค้นหาพีซีที่เหมาะสมกับคุณ เรียนรู้เพิ่มเติม

No comments:

Post a Comment

ได้ข้อมูลแล้ว ก็ช่วยกันคอมเม้นด้วยนะค่ะ