ค้นหาข้อสอบ ในเว็บไซต์แห่งนี้

Wednesday, March 30, 2011

สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

สรุปเกี่ยวกับการลาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
1. การบังคับใช้
1) ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการครู ยกเว้นข้าราชการทหารและข้าราชการท้องถิ่น
2) ให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรักษาระเบียบนี้
3) กรณีที่ไปช่วยราชการหากต้องการลาก็ขออนุญาตผู้บังคับบัญชาหน่วยงานที่ไปช่วยราชการแล้วให้ หน่วยงานนั้นแจ้งให้ต้นสังกัดทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

2. การนับวันลา
1) ให้นับตามปีงบประมาณ
ข้อสอบ 2) การนับวันลาที่นับเฉพาะวันทำการคือ
- การลาป่วย ( ธรรมดา )
- การลากิจส่วนตัว
- การลาพักผ่อน
3) ข้าราชการที่ถูกเรียกกลับระหว่างลาให้ถือการลาหมดเขตเพียงวันก่อนเดินทางกลับและวันราชการ เริ่มนับตั้งแต่วันเดินทางกลับ

3. การลาครึ่งวัน
ในการลาครึ่งวันในตอนเช้า หรือตอนบ่ายให้นับการลาเป็นครึ่งวัน
การลาให้ใช้ใบลาตามแบบ แต่กรณีจำเป็นหรือรีบด่วนจะใช้ใบลาตามวิธีอื่นก็ได้ แต่ต้องส่งใบลาตามแบบวันในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
- ข้าราชการที่ประสงค์จะไปต่างประเทศระหว่างลา หรือวันหยุดราชการให้เสนอขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงอธิบดี ( เลขา กพฐ. )
- ข้าราชการส่วนภูมิภาค ขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศที่มีชายแดนติดต่อกับประเทศไทย ขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน หรือนายอำเภอไม่เกิน 3 วัน
- ข้าราชการผู้ใดไม่สามารถปฏิบัติงานราชการได้ เนื่องจากพฤติกรรมพิเศษ เช่น ฝนตกหนัก ถนนขาด ถูกจับเรียกค่าไถ่ โดยเกิดขึ้นกับบุคคลทั่วไป หรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับบุคคลนั้นไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อจนเป็นเหตุขัดขวางไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับ จนถึงอธิบดี ( เลขา กพฐ. ) หรือผู้ว่าราชการจังหวัด ( สำหรับข้าราชการส่วนภูมิภาค)ทันทีที่มาปฏิบัติราชการได้ ถ้าอธิบดี พิจารณาว่าเป็นจริง ไม่นับเป็นวันลา ถ้าไม่จริงให้นับเป็นลากิจส่วนตัว
********** ข้าราชการครูสังกัด สพฐ. เป็นข้าราชการส่วนกลาง***********

4. ประเภท ของการลามี 9 ประเภท ดังนี้
1. ลาป่วย
2. ลาคลอดบุตร
3. ลากิจส่วนตัว
4. ลาพักผ่อนประจำปี
5. ลาไปอุปสมบทหรือประกอบพิธีฮัทย์
6. ลาตรวจเลือกหือเข้ารับการเตรียมพล
7. ลาศึกษาต่อ ศึกษาอบรมดูงาน หรือปฏิบัติงานวิจัย
8. ลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ
9. ลาติดตามคู่สมรสไปต่างประเท

การลาป่วย
ข้อสอบ ให้เสนอจัดส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลา เว้นกรณีจำเป็นเสนอส่งใบลาในวันที่ปฏิบัติการได้ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้ ให้ผู้ยื่นลงชื่อแทนได้ แต่ถ้าสามารถเขียนได้ให้ส่งใบลาโดยเร็ว การลาป่วยตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป ต้องมีใบรับรองแพทย์

การลาคลอดบุตร
ให้ส่งใบลาก่อนหรือในวันที่ลา ลงชื่อไม่ได้ให้ผู้อื่นลงแทนได้ ลงชื่อได้จัดส่งใบลาโดยเร็ว สิทธิในการลาคลอดบุตรได้ 90 วัน โดยได้รับเงินเดือนโดยไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์ อัตราจ้างสามารถลาได้ 45 วันทำการ โดยได้รับเงินเดือน อีก 45 วันให้รับการประกันสังคม
ข้าราชการที่ลาเลี้ยงดูบุตร มีสิทธิลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจาการลาคลอดบุตร ไม่เกิน 30 วันทำการ โดยได้รับเงินเดือน ถ้าประสงค์จะลาต่ออีกลาได้อีกไม่เกิน 150 ทำการโดยไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน
ลากิจส่วนตัว + เลี้ยงดูบุตรได้ปีละไม่เกิน 45 วันทำการ
การลากิจส่วนตัวแม้ยังไม่ครบกำหนด ผู้บังคับบัญชาสามารถเรียกมาปฏิบัติราชการก็ได้
การลาคลอดบุตร คาบเกี่ยวกับการลาประเภทใดให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลงและนับเป็นการลาคลอดบุตรต่อ
การลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตร ผู้บังคับบัญชาไม่สามารถเรียกมาปฏิบัติราชการได้

การลากิจส่วนตัว
การลากิจส่วนตัว ต้องส่งใบลาก่อนเมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงหยุดราชการได้เว้นแต่เหตุจำเป็นให้หยุดราชการไปก่อนและชี้แจ้งเหตุผลให้ทราบโดยเร็ว ถ้ามีเหตุพิเศษไม่อาจปฏิบัติได้ตามที่กล่าวมาให้เสนอจัดส่งใบลาพร้อมชี้แจงเหตุผลในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
ลากิจไม่เกิน 45 วันทำการ/ปี

การลาพักผ่อนประจำปี ( ไม่ใช่ลาพักร้อน )
ข้าราชการปีหนึ่งลาพักผ่อนได้ 10 วันทำการ เว้นแต่ข้าราชการต่อไปนี้ รับราชการยังไม่ถึง 6 เดือน
- ในกรณีบรรจุครั้งแรก
- ลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัว
- ลาออกเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือเลือกตั้ง
ในปีใดที่ข้าราชการไม่ได้ลาพักผ่อนลาไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สะสมวันลาที่ยังไม่ลาในปีนั้นรวมกับปีต่อไปได้ แต่ไม่เกิน 20 วันทำการ
รับราชการมาแล้วติดต่อกันไม่น้อยกว่า 10 ปี สามารถลาพักผ่อนสะสมไม่เกิน30 วันทำการ
ข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในโรงเรียน มีวันหยุดภาคเรียน หากได้หยุดราชการตามวันหยุดภาคการศึกษาเกิดกว่าลาพักผ่อน ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนได้

การลาอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัทย์
ให้ส่งใบลาขออนุญาตต่อเลขา กพฐ. ( ส่งใบลาให้ผอ.ร.ร.ก่อนไม่น้อยกว่า 60 วัน )
ได้รับอนุญาตแล้วต้องอุปสมบทหรือออกเดินทาง ภายใน 10 วัน
กลับมารายงานตัวภายใน 5 วัน นับตั้งแต่ลาสิขา หรือเดินทางกลับถึงเมืองไทย
ลาบวชได้ไม่เกิน 120 วัน

การลาตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมพล
คำว่าตรวจเลือก เรียกว่าคัดทหาร การลาตรวจเลือก ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชา ไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง นับแต่ได้รับหมายเรียกโดยไม่ต้องรอคำสั่งอนุญาต ถ้าพ้นจากการตรวจเลือกจะต้องปฏิบัติราชการภายใน 7 วัน
เตรียมพล เมื่อได้รับใบแดงจะต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบภายใน 48 ชั่วโมง
ออกจากทหาร ขอเข้ารับราชการภายใน 180 วัน

การลาศึกษา ฝึกอบรม ศึกษาปฏิบัติงานวิจัย
ผู้มีอำนาจอนุญาต คือ เลขา กพฐ. ( ในประเทศ มอบให้ ผอ.สพท. ต่างประเทศ เลขา กพฐ. )

การลาไปปฏิบัติงานในองค์กรระหว่างประเทศ
ผู้มีอำนาจอนุญาตคือ รัฐมนตรีเจ้าสังกัด โดยไม่ได้รับเงินเดือน มี 2 ประเภท
1. ประเภทที่ 1 ไม่เกิน 4 ปี
- ประเทศไทยเป็นสมาชิก
- รัฐบาลมีข้อผูกพัน ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
- ส่งไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศ
2. ประเภทที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี
- รับราชการไม่น้อยกว่า 5 ปี ยกเว้น สหประชาชาติไม่น้อยกว่า 2 ปี
- อายุไม่เกิน 52 ปี และไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย

การลาติดตามคู่สมรสไปปฏิบัติงานต่างประเทศ
ผู้อนุญาต คือ เลขา กพฐ. ลาได้ไม่เกิน 2 ปี ถ้าจำเป็นลาต่ออีกได้ 2 ปี รวมเวลา 4 ปี ถ้าเกินให้ลาออก

ผู้มีอำนาจอนุญาตในการลา

ผู้บริหารสถานศึกษา มีอำนาจอนุญาตการลาของผู้ใต้บังคับบัญชาดังนี้
- ลาป่วย ครั้งหนึ่งไม่เกิน 60 วันทำการ
- ลาคลอด ครั้งหนึ่งไม่เกิน 90 วันทำการ
- ลากิจส่วนตัว ครั้งหนึ่งไม่เกิน 30 วันทำการ

กฎ ก.พ. ว่าด้วยการเลื่อนขั้นเงินเดือน 2544
ปีงบประมาณ เลื่อนขั้นเงินเดือน 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ( ครึ่งปีแรก ) 1 ตุลาคม ถึง 31 มีนาคม ให้เลื่อนขั้นในวันที่ 1 เมษายน
ครั้งที่ 2 ( ครั้งปี หลัง) 1 เมษายน ถึง 30 กันยายน ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ 1 ตุลาคม

หลักเกณฑ์การลาบ่อยครั้งและมาทำงานสาย
1. การลาบ่อยครั้ง
- ข้าราชการปฏิบัติงานตามโรงเรียน ลาเกิน 6 ครั้ง
- ข้าราชการปฏิบัติงานตามสำนักงาน ลาเกิน 8 ครั้ง

No comments:

Post a Comment

ได้ข้อมูลแล้ว ก็ช่วยกันคอมเม้นด้วยนะค่ะ