ค้นหาข้อสอบ ในเว็บไซต์แห่งนี้

Wednesday, July 20, 2011

แบบทดสอบหลังอบรม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

แบบทดสอบหลังอบรม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

ศูนย์เครือข่ายอำเภอภูเขียว สพท.ชย. 2

คำชี้แจง 1. แบบทดสอบมีจำนวน 50 ข้อ

2. ให้ทำเครื่องหมาย X ข้อที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว ในกระดาษคำตอบ

3. ใช้เวลา 1 ชั่วโมง

……………………………………………………………

1. ข้อใดมิใช่วิสัยทัศน์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ก. มีความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล

ข. มีความรู้และทักษะพื้นฐาน

ค. เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ง. มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุล

2. ข้อใดไม่ใช่หลักการของหลักสูตร

ก. เพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ

ข. เพื่อปวงชน

ค. สนองการกระจายอำนาจให้สังคมมีส่วนร่วม

ง. มีโครงสร้างแน่นอนทั้งสาระเวลาและการเรียนรู้

3. มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข อยู่ในส่วนใดของหลักสูตร

ก. วิสัยทัศน์

ข. หลักการ

ค. จุดหมาย

ง. สมรรถนะที่สำคัญ

4. ข้อใดไม่ใช่สมรรถนะที่สำคัญของหลักสูตร

ก. ความสามารถในการสื่อสาร

ข. ความสามารถในการคิด

ค. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี

ง. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย

5. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะอันพึงประสงค์

ก. ซื่อสัตย์สุจริต

ข. มีวินัย

ค. รักความเป็นไทย

ง. ขยัน ประหยัด

6. ข้อใดไม่ใช่ขอบข่ายของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

ก. กิจกรรมนักเรียน

ข. กิจกรรมแนะแนว

ค. กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

ง. กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์

7. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดระดับการศึกษาเป็นกี่ระดับ

ก. 2 ระดับ คือ การศึกษาภาคบังคับ และ ระดับขั้นพื้นฐาน

ข. 2 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา และ ระดับมัธยมศึกษา

ค. 2 ระดับ คือ ระดับการศึกษาภาคบังคับ และ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ง. 3 ระดับ คือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

8. การแบ่งระดับการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อใดไม่ถูกต้อง

ก. ระดับก่อนประถมศึกษา

ข. ระดับประถมศึกษา

ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

9. มุ่งเน้นทักษะด้านการอ่าน ทักษะการคิดพื้นฐาน กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม พื้นฐานความเป็นมนุษย์ เป็นการจัดการศึกษาระดับใด

ก. ระดับก่อนประถมศึกษา

ข. ระดับประถมศึกษา

ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

10. เน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นการจัดการศึกษาระดับใด

ก. ระดับก่อนประถมศึกษา

ข. ระดับประถมศึกษา

ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

11. มีทักษะในการคิด ทักษะในการดำเนินชีวิต และทักษะในการใช้เทคโนโลยี เป็นการจัดการศึกษาในระดับใด

ก. ระดับก่อนประถมศึกษา

ข. ระดับประถมศึกษา

ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

12. สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ มุ่งพัฒนาตนเองและประเทศ เป็นการจัดการศึกษาระดับใด

ก. ระดับก่อนประถมศึกษา

ข. ระดับประถมศึกษา

ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

13. การจัดเวลาเรียนในข้อใดไม่ถูกต้อง

ก. ระดับประถมศึกษา จัดเวลาเรียนเป็นรายปี มีเวลาเรียน วันละไม่เกิน 5 ชั่วโมง

ข. ระดับมัธยมศึกษา จัดเวลาเรียนเป็นรายปี วันละไม่เกิน 6 ชั่วโมง คิดเป็นหน่วยกิต

ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค วันละไม่เกิน 6 ชั่วโมง คิดเป็นหน่วยกิต

ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค วันละไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง คิดน้ำหนักเป็นหน่วยกิต

14. การจัดเวลาเรียนในวิชาใดมากในระดับต้น และลดลงในช่วงระดับสูงขึ้น

ก. ภาษาไทย คณิตศาสตร์

ข. วิทยาศาสตร์

ค. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ง. ศิลปะ

15. ระดับใดจัดเวลาเรียนเป็นรายปี

ก. ระดับประถมศึกษา

ข. ระดับประถมศึกษา - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

16. สถานศึกษาอาจจัดให้เป็นเวลาสำหรับสาระการเรียนรู้พื้นฐานในกลุ่มสาระภาษาไทยและคณิตศาสตร์ในระดับใด

ก. ระดับ ป.1 – 3

ข. ระดับ ป.1 – 6

ค. ระดับ ม.1 – 3

ง. ระดับ ม.4 – 6

17. การจัดเวลาเรียนในข้อใดที่มีเวลาเรียนเท่ากันตลอดหลักสูตร

ก. วิชาวิทยาศาสตร์

ข. วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ค. วิชาศิลปะ

ง. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

18. สถานศึกษาจัดสรรเวลาเรียนในส่วนกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ในข้อใดไม่ถูกต้อง

ก. ระดับประถมศึกษา จำนวน 60 ชั่วโมง

ข. ระดับประถมศึกษา - ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 60 ชั่วโมง

ค. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 45 ชั่วโมง

ง. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 60 ชั่วโมง

19. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งออกเป็นกี่ระดับ

ก. 2 ระดับ คือ ระดับสถานศึกษา และระดับชาติ

ข. 3 ระดับ คือ ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับชาติ

ค. 3 ระดับ คือ ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา และระดับชาติ

ง. 4 ระดับ คือ ระดับชั้นเรียน ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ

20. ข้อใดไม่ใช่ระดับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร

ก. ระดับห้องเรียน

ข. ระดับชั้นเรียน

ค. ระดับสถานศึกษา

ง. ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

21. การประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนของผู้เรียนเป็นรายปี/รายภาค เป็นการประเมินระดับใด

ก. ระดับชาติ

ข. ระดับชั้นเรียน

ค. ระดับสถานศึกษา

ง. ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

22. สถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนในชั้น ป.3 ป.6 ม.3 ม.6 เข้ารับการประเมิน เป็นการประเมินระดับใด

ก. ระดับชาติ

ข. ระดับชั้นเรียน

ค. ระดับสถานศึกษา

ง. ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

23. การตัดสินผลการเรียนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษาแตกต่างกันในข้อใด

ก. เวลาเรียน

ข. ตัวชี้วัด

ค. รายวิชา

ง. การอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียน คุณลักษณะอันพึงประสงค์และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

24. เกณฑ์การจบหลักสูตร ข้อใดถูกต้อง

ก. ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา

ข. ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ค. ระดับก่อนประถมศึกษา ระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา

ง. ระดับประถมศึกษา ระดับการศึกษาภาคบังคับ

25. เกณฑ์การจบหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นข้อใดไม่ถูกต้อง

ก. ต้องเรียนรายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติมไม่เกิน 81 หน่วยกิต

ข. ต้องได้หน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 77 หน่วย

ค. มีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนในระดับผ่าน

ง. เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

26. ในการบริหารหลักสูตรให้ประสบความสำเร็จ สถานศึกษามีภารกิจสำคัญในข้อใดมากที่สุด

ก. กำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียน

ข. จัดสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

ค. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

ง. วางแผนและดำเนินการใช้หลักสูตร

27. โรงเรียนต้นแบบและโรงเรียนที่มีความพร้อม ให้เริ่มใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ในปีใด

ก. ปีการศึกษา 2552

ข. ปีการศึกษา 2553

ค. ปีการศึกษา 2554

ง. ปีการศึกษา 2555

28. โรงเรียนทั่วไปเริ่มใช้หลักสูตรแกนกลางเมื่อใด

ก. ปีการศึกษา 2551

ข. ปีการศึกษา 2552

ค. ปีการศึกษา 2553

ง. ปีการศึกษา 2554

29. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ให้ใช้พร้อมกันทุกชั้นเรียนทั่วประเทศในปีใด

ก. ปีการศึกษา 2552

ข. ปีการศึกษา 2553

ค. ปีการศึกษา 2554

ง. ปีการศึกษา 2555

30. หลักสูตรแกนกลางแตกต่างจากหลักสูตรเดิมในข้อใดมากที่สุด

ก. หลักการ และจุดหมาย

ข. หลักการ และวิสัยทัศน์

ค. จุดหมายและสมรรถนะ

ง. วิสัยทัศน์และสมรรถนะ

31. คำสั่งประกาศให้ใช้หลักสูตรแกนกลางตรงกับข้อใด

ก. วันที่ 10 กรกฎาคม 2551

ข. วันที่ 11 กรกฎาคม 2551

ค. วันที่ 12 กรกฎาคม 2551

ง. วันที่ 11 สิงหาคม 2551

32. ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อใดเป็นเกณฑ์การคิดน้ำหนักของรายวิชาที่เรียน

ก. ใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมง ต่อ ภาคเรียน

ข. ใช้เกณฑ์ 40 คาบ ต่อ ภาคเรียน

ค. ใช้เกณฑ์ 40 ชั่วโมง ต่อ ปี

ง. ใช้เกณฑ์ 40 คาบ ต่อ ปี

33. ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดเวลาเรียนสำหรับ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กำหนดไว้จำนวนเท่าใด

ก. ภาคเรียนละ 120 ชั่วโมง

ข. ปีละ 120 ชั่วโมง

ค. ภาคเรียนละ 240 ชั่วโมง

ง. ปีละ 240 ชั่วโมง

34. ข้อใดกล่าวถูกต้อง ในการจัดการเรียนรู้ตาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ก. หลักการจัดการเรียนรู้ โดนยึดว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด

ข. กระบวนการเรียนรู้ ต้องอาศัยกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย

ค. ก่อนการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาให้เข้าใจ

ง. ถูกต้องทุกข้อที่กล่าวมา

35. ผู้มีอำนาจในการยกเลิก เพิ่มเติมหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551คือใคร

ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ข. ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

ค. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ง. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

36. จากการวิจัยและติดตามประเมินผลการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544

ในระยะ 6 ที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นถึงประเด็นปัญหา และความไม่ชัดเจนของหลักสูตร

ตามข้อใด

ก. สถานศึกษาส่วนใหญ่กำหนดสาระและผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้มากเกินไป ทำให้เกิด

ปัญหาหลักสูตรแน่น

ข. การวัดและประเมินผลไม่สะท้อนมาตรฐาน

ค. คุณภาพผู้เรียนยังไม่เป็นที่น่าพอใจ

ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

37. ข้อใดเป็นความเชื่อในวิสัยทัศน์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

ก. ผู้เรียนสำคัญที่สุด

ข. ผู้เรียนทุกคนต้องได้รับประสบการณ์ทั้งความรู้ควบคู่กับคุณธรรม

ค. ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา

38. ข้อใดเป็นหลักการในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551

ก. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ

ข. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจ

ค. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ง. เป็นหลักการหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ทุกข้อที่กล่าวมา

39. หลักการในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มีกี่ข้อ

ก. 5 ข้อ

ข. 6 ข้อ

ค. 7 ข้อ

ง. 8 ข้อ

40. จุดหมายในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มีกี่ข้อ

ก. 5 ข้อ

ข. 6 ข้อ

ค. 7 ข้อ

ง. 8 ข้อ

41. ข้อใดเรียงลำดับข้อของ หลักการ จุดมุ่งหมาย สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้ถูกต้อง

ก. 5-6-6-8

ข. 5-5-8-6

ค. 6-5-5-8

ง. 6-8-5-5

42. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะตามข้อใด

ก. เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข

ข. เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข และมีความเป็นไทย

ค. เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข

ง. เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุข มีศักยภาพในการเรียนต่อ และประกอบอาชีพ

43. การพัฒนาให้ผู้เรียนได้เกิดความสมดุล ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการตามข้อใด

ก. พัฒนาการทางสติปัญญาและจิตใจ

ข. พัฒนาการทางสมอง จิตใจ และสังคม

ค. พัฒนาการทางสมอง และพหุปัญญา

ง. พัฒนาการทางสมอง พหุปัญญาและสังคม

44. ข้อใดไม่เป็นองค์ประกอบของ สาระการเรียนรู้

ก. องค์ความรู้

ข. สมรรถนะ

ค. ทักษะหรือกระบวนการเรียนรู้

ง. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

45. การบริหารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ต้องคำนึงถึงสิ่งใดเป็นลำดับแรก

ก. วิสัยทัศน์

ข. หลักการ

ค. จุดมุ่งหมาย

ง. คุณลักษณะที่พึงประสงค์

46. กลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระ ได้กำหนดไว้ในส่วนใดของหลักสูตร

ก. มาตรฐานการเรียนรู้

ข. สาระการเรียนรู้

ค. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

ง. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

47. ความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรค ต่างๆที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล กำหนดไว้ในส่วนไหนของหลักสูตร

ก. มาตรฐานการเรียนรู้

ข. สาระการเรียนรู้

ค. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

ง. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

48. การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักการพัฒนาการทางสมอง และพหุปัญญาสอดคล้องกับข้อใด

ก. มาตรฐานการเรียนรู้

ข. สาระการเรียนรู้

ค. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

ง. คุณลักษณะอันพึงประสงค์

49. มาตรฐานการเรียนรู้ใน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้มีกี่มาตรฐาน

ก. 67 มาตรฐาน

ข. 76 มาตรฐาน

ค. 77 มาตรฐาน

. 78 มาตรฐาน

50. หัวใจแห่งความสำเร็จของหลักสูตรอยู่ที่ใด

ก. การอบรมผู้เกี่ยวข้องให้เข้าใจ

ข. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของครูผู้สอน

ค. การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน

ง. การบริหารจัดการหลักสูตรของผู้เกี่ยวข้อง

.............................................................................................................................................................คณะกรรมการจัดทำแบบทดสอบ

1.ว่าที่ ร.ต.ธนาธิป มาลากอง ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองเมยสามัคคี ประธานกรรมการ

2.นายอาณัติ ราชโสม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสวนอ้อย รองประธานกรรมการ

3.นายอุทัย สำราญรื่น ผู้อำนวยการโรงเรียนม่วงราษฎร์สามัคคี กรรมการ

4.นายนพดล ตลับแก้ว รองผู้อำนวยการโรงเรียนเนรมิตศึกษา กรรมการ

5.นายสมาน เวียงปฏิ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้างสูง กรรมการ/เลขานุการ

No comments:

Post a Comment

ได้ข้อมูลแล้ว ก็ช่วยกันคอมเม้นด้วยนะค่ะ