ค้นหาข้อสอบ ในเว็บไซต์แห่งนี้

Wednesday, July 20, 2011

ข้อสอบวิชาการศึกษา

วิชาการศึกษา
01. ข้อใดกล่าวถึง หลักการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ไม่ถูกต้อง
ก. ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ข. เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
ค. มีเอกภาพด้านนโยบาย หลากหลายในการปฏิบัติ
ง. การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้
02. การศึกษาที่เนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความ
ต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
ก. การศึกษาในระบบ ข. การศึกษานอกระบบ
ค. การศึกษาตลอดชีวิต ง. การศึกษาตามอัธยาศัย
03. ข้อใดเป็นความหมายของ “ผู้สอน”
ก. ครูและอาจารย์ในสถานศึกษาของรัฐระดับต่างๆ
ข. ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาของรัฐระดับต่างๆ
ค. ครูและคณาจารย์ที่สอนในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
ง. ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
04. การศึกษาในระบบมีกี่ระดับ
ก. 2 ระดับ ข. 3 ระดับ
ค. 4 ระดับ ง. 5 ระดับ
05. ข้อใดไม่ใช่สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. โรงเรียน ข. มหาวิทยาลัย
ค. ศูนย์การเรียน ง. สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
06. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของการศึกษา ที่เป็นแนวคิดของจอห์น ดิวอี้
ก. การศึกษา คือ ชีวิต ข. การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม
ค. การศึกษา คือ การลงทุน ง. การศึกษา คือ การสร้างประสบการณ์
07. การศึกษาคือการลงทุน เป็นแนวคิดของนักการศึกษาท่านใด
ก. คาร์เตอร์ วี. กู๊ด ข. ชุ้ลซ์
ค. รุสโซ ง. จอห์น ดิวอี้
08. Education is life เป็นแนวคิดของนักการศึกษาผู้ใด
ก. รุสโซ ข. อริสโตเติล
ค. ดิวอี้ ง. ซุลซ์
09. ข้อใดหมายถึงปรัชญาการศึกษาลัทธิสารัตถนิยม
ก. Existentiallism ข. Reconstructionnism
ค. Essentilism ง. Perenialism
10. ใครเป็นผู้เริ่มแนวคิดการศึกษาปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยม
ก. ซี แบกเล่ย์ ข. โรเบิร์ต เอ็ม ฮัทซิน
ค. เฟลอเบล ง. ยอร์ช เอส เค้าทส์
11. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ใช้ครบทุกชั้นทั่วประเทศในปีการศึกษาใด
ก. ปีการศึกษา 2553 ข. ปีการศึกษา 2554
ค. ปีการศึกษา 2555 ง. ปีการศึกษา 2556
12. ข้อใดกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ได้ถูกต้อง
ก. มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
ข. ให้มีผู้เรียนมีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้งเจตคติที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพและการศึกษาต่อ
ค. มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้คุณธรรม
ง. ถูกทุกข้อ
13. หลักการของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 กำหนดไว้กี่ข้อ
ก. หลักการ 4 ข้อ ข. หลักการ 5 ข้อ
ค. หลักการ 6 ข้อ ง. หลักการ 7 ข้อ
14. ข้อใดไม่ใช่หลักการของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
ก. ความเป็นเอกภาพของชาติ ข. สนองต่อการกระจายอำนาจ
ค. มีความสำนึกในความเป็นพลเมืองไทย ง. เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
15. หลักการสำคัญประการแรกของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 คือข้อใด
ก. การกระจายอำนาจ ข. การศึกษาเพื่อปวงชน
ค. เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ง. ความเป็นเอกภาพของชาติ
16. วิสัยทัศน์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 มุ่งพัฒนาผู้เรียน
เป็นสำคัญ บนพื้นฐานแนวคิดใด
ก. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ข. มนุษย์มีความแตกต่างระหว่างบุคคล
ค. การอยู่ร่วมกันอย่างรู้รักสามัคคีและสมานฉันท์
ง. ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
17. จุดหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 กำหนดไว้กี่ข้อ
ก. กำหนดไว้ 3 ข้อ ข. กำหนดไว้ 4 ข้อ
ค. กำหนดไว้ 5 ข้อ ง. กำหนดไว้ 9 ข้อ
18. ข้อใดกล่าวถึงจุดหมายของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ไม่ถูกต้อง
ก. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
ข. มีความรู้ความสามารถในการสื่อสาร การอ่าน คิดและวิเคราะห์และแก้ปัญหา
ค. มีสุขภาพและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัยและรักการออกกำลังกาย
ง. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
19. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน กำหนดไว้กี่ประการ
ก. กำหนดไว้ 3 ประการ ข. กำหนดไว้ 4 ประการ
ค. กำหนดไว้ 5 ประการ ง. กำหนดไว้ 6 ประการ
20. ข้อใดไม่ใช่สมรรถนะสำคัญของผู้เรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. ความสามารถในการสื่อสาร ข. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
ค. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ง. ความสามารถในการวิเคราะห์
21. ขั้นตอนแรกของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้คือข้อใด
ก. ขั้นสร้างความสนใจ ข. ขั้นสำรวจและค้นหา
ค. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป ง. ขั้นขยายความรู้
22. การทดสอบ Pre-test มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
ก. การทดสอบวัดความรู้ของผู้เรียน ข. การวัดผลผู้เรียนก่อนเรียน
ค. การทดสอบเพื่อให้ทราบข้อมูลเบื้องต้น ง. ถูกทุกข้อ
23. การสอนแบบนิรมัย(Deductive Method) มีลักษณะตามข้อใด
ก. การสอนจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม ข. การสอนจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย
ค. การสอนให้นักเรียนค้นคว้าด้วยตนเอง ง. การสอนที่มีการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

24. การสอนแบบอุปมัย(Inductive Method)มีลักษณะตามข้อใด
ก. การสอนจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม ข. การสอนจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย
ค. การสอนให้นักเรียนค้นคว้าด้วยตนเอง ง. การสอนที่มีการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
25. การสอนภาษาไทย ควรสอดคล้องกับหลักการสอนใด
ก. การสอนแบบนิมัย ข. การสอนแบบอุปมัย
ค. การสอนแบบสาธิต ง. การสอนแบบวิทยาศาสตร์
26. ข้อใดเป็นหลักการที่สำคัญที่สุดของรูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
ก. การนำเสนอความรู้ ข. ประสบการณ์ของผู้เรียน
ค. การนำไปประยุกต์ใช้ ง. การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้
27. ข้อใดเป็นกระบวนการแรกของรูปแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
ก. การนำเสนอความรู้ ข. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
ค. การนำไปประยุกต์ใช้ ง. การสร้างองค์ความรู้
28. วิธีการสอนแบบใดที่สามารถย่นย่อทั้งเวลา ขนาดของชั้นเรียน งานและทักษะ
ก. การสอนแบบศูนย์การเรียน ข. การสอนแบบหน่วยการเรียน
ค. การสอนแบบจุลภาค ง. การสอนแบบวิทยาศาสตร์
29. การสอนแบบจุลภาคควรใช้เวลาประมาณกี่นาที
ก. 5-10 นาที ข. 5-15 นาที
ค. 5-20 นาที ง. 5-25 นาที
30. วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียนควรมีการหมุนเวียนประกอบกิจกรรมในแต่ละศูนย์ตามข้อใด
ก. ศูนย์ละ 5-10 นาที ข. ศูนย์ละ 10-15 นาที
ค. ศูนย์ละ 15-20 นาที ง. ศูนย์ละ 15-25 นาที
31. ระดับสติปัญญาที่สามารถเรียนจบชั้นมัธยมศึกษา มี IQ เท่าไหร่
ก. 80 – 89 ข. 90 – 109
ค. 110 – 119 ง. 120 – 139
32. ข้อใด ไม่ใช่ ตัวแปรของการเรียนรู้
ก. แรงจูงใจ ข. สิ่งเร้า
ค. อินทรีย์ ง. การตอบสนอง
33. ข้อใด คือ ความหมายของการเรียนรู้
ก. กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
ข. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงจากการเรียนรู้เป็นพฤติกรรมค่อนข้างถาวร
ค. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงจากการเรียนรู้เป็นพฤติกรรมค่อนข้างชั่วคราว
ง. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงเป็นผลจากประสบการณ์
34. ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้
ก. วุฒิภาวะ ข. ความพร้อม
ค. แรงจูงใจ ง. การเชื่อมโยงความรู้
35. การพัฒนาการ คือการเปลี่ยนแปลงที่มีผลมาจากข้อใด
ก. วุฒิภาวะและประสบการณ์ ข. พันธุกรรมและประสบการณ์
ค. วุฒิภาวะและพันธุกรรม ง. พันธุกรรมและวุฒิภาวะ
36. ทฤษฎีการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก เป็นทฤษฎีของนักจิตวิทยาท่านใด
ก. จอห์น ดิวอี้ ข. ฟรอยด์
ค. จอห์น บี วัตสัน ง. ธอร์นไดค์
37. เด็กที่มีปัญหาในการพูดและควบคุมการไหลของน้ำลายครูควรใช้วิธีการฝึกอย่างไร
ก. ฝึกบริหารสมอง ข. ฝึกการเล่นกลางแจ้งเพื่อกระตุ้นให้ร่างกาย
ค. ฝึกการเล่นเป่าเทียน เป่าฟองสบู่ ง. ฝึกให้มีการฟัง แล้วตอบคำถามบ่อย ๆ
38. วิธีการแก้เด็กติดอ่างทำอย่างไร
ก. ขจัดความตึงเครียดทางอารมณ์ ข. ครูควรทำไม่รู้ ไม่แก้เด็กติดอ่างต่อหน้าเพื่อน
ค. หลังจากหายเจ็บป่วยแล้วจึงค่อย ๆ ปรับตัว ง. ถูกทุกข้อ
39. เด็กถนัดมือซ้ายจะทำอย่างไร
ก. ถ้าเป็นเด็กเล็ก ๆ ไม่ควรแก้ไข ข. ถ้าเป็นเด็กโตถึงไม่สมัครใจก็ควรแก้ไข
ค. ให้เล่นโดยใช้มือขวา ง. ฝึกลากเส้นจากขวาไปซ้าย
40. การพยายามเปลี่ยนเด็กถนัดมือซ้ายมาใช้มือขวา อาจทำให้เด็กเป็นอย่างไร
ก. ถนัดซ้ายตลอดไป ข. ติดอ่าง
ค. ใช้มือขวาได้ไม่ดี ง. ใช้มือซ้าย มือขวาไม่สัมพันธ์กัน
41. ข้อใดคือหลักสูตรลูกเสือสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6
ก. ลูกเสือสำรอง ข. ลูกเสือสามัญ
ค. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ง. ลูกเสือวิสามัญ
42. ข้อใดคือหลักสูตรลูกเสือสำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
ก. ลูกเสือสำรอง ข. ลูกเสือสามัญ
ค. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ง. ลูกเสือวิสามัญ
43. แนวการจัดกิจกรรมตามวิธีการลูกเสือมีองค์ประกอบกี่ประการ
ก. 5 ประการ ข. 6 ประการ
ค. 7 ประการ ง. 9 ประการ
44. ข้อใดกล่าวถึงขั้นตอนการเปิดประชุมกองลูกเสือได้ถูกต้อง
ก. ชักธงชาติ สวดมนต์ กล่าวคำปฏิญาณ แยก ข. ชักธงชาติ สวดมนต์ ตรวจ สงบนิ่ง แยก
ค. ชักธงชาติ สวดมนต์ สงบนิ่ง ตรวจ แยก ง. ชักธงชาติ สวดมนต์ ตรวจ ท่องกฎ แยก
45. คติพจน์ของลูกเสือสำรองคือข้อใด
ก. มองไกล ข. ทำดีที่สุด
ค. จงเตรียมพร้อม ง. บริการ
46. คติพจน์ของลูกเสือสามัญคือข้อใด
ก. มองไกล ข. ทำดีที่สุด
ค. จงเตรียมพร้อม ง. บริการ
47. คติพจน์ขอลูกเสือประดับมัธยมศึกษาตอนต้นคือข้อใด
ก. มองไกล ข. ทำดีที่สุด
ค. จงเตรียมพร้อม ง. บริการ
48. คติพจน์ของลูกเสือวิสามัญคือข้อใด
ก. มองไกล ข. ทำดีที่สุด
ค. จงเตรียมพร้อม ง. บริการ
49. วิชาพิเศษเป็นกิจกรรมสำหรับลูกเสือในระดับชั้นใด
ก. ประถมศึกษา ข. มัธยมศึกษาตอนต้น
ค. มัธยมศึกษาตอนปลาย ง. ทุกระดับ
50. ลูกเสือตรี โท เอก เป็นกิจกรรมของลูกเสือประเภทใด
ก. ลูกเสือสำรอง ข. ลูกเสือสามัญ
ค. ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ ง. ลูกเสือวิสามัญ
51. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ Classical Conditioning เป็นแนวคิดของใคร
ก. สกินเนอร์ (Skinner) ข. ธอร์นไดด์ (Thorndike)
ค. พาฟลอฟ (Pavlov) ง. โคห์เลอร์ (Kohler)
52. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบ Operant Conditioning เป็นแนวคิดของใคร
ก. สกินเนอร์ (Skinner) ข. ธอร์นไดด์ (Thorndike)
ค. พาฟลอฟ (Pavlov) ง. โคห์เลอร์ (Kohler)
53. ทฤษฎีความรู้หรือทฤษฎีสนาม (Cognitive or Field Theories) เป็นแนวคิดของใคร
ก. สกินเนอร์ (Skinner) ข. ธอร์นไดด์ (Thorndike)
ค. พาฟลอฟ (Pavlov) ง. โคห์เลอร์ (Kohler)

54. การประกาศผลการสอบให้นักเรียนทราบโดยเร็ว สอดคล้องแนวคิดของธอร์นไดด์ในข้อใด
ก. Law of Effect ข. Law of Exercise
ค. Law of Readiness ง. Law of Learning
55. จัดกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำหรือให้ผู้เรียนสรุปทบทวนสิ่งที่กระทำ สอดคล้องกับข้อใด
ก. Law of Effect ข. Law of Exercise
ค. Law of Readiness ง. Law of Learning
56. การนำเข้าสู่บทเรียน เพื่อให้นักเรียนได้มีความพร้อมที่จะเรียนรู้ สอดคล้องกับแนวคิดในข้อใด
ก. Law of Effect ข. Law of Exercise
ค. Law of Readiness ง. Law of Learning
57. Experientinol Learning Process : ELP หมายถึงการจัดการเรียนรู้รูปแบบใด
ก. การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ข. การจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์
ค. การจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการแก้ปัญหา ง. การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
58. การสอนให้ผู้เรียนเกิดเจตคติหรือค่านิยมที่ดีสอดคล้องกับจัดประสงค์ทางการศึกษาข้อใด
ก. Cognitive Domain ข. Affective Domain
ง. Psychomotor Domain ง. ถูกทุกข้อ
59. คำถามที่ใช้กับนักเรียนว่า “นักเรียนเห็นอะไรจากภาพนี้” สอดคล้องกับแนวคิดหมวกสีใด
ก. สีแดง ข. สีเหลือง
ค. สีน้ำเงิน ง. สีขาว
60. Brain-Based Learning : BBL หมายถึงข้อใด
ก. การเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นเกณฑ์ ข. การเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐาน
ค. การเรียนรู้ของผู้มีปัญหาทางสมอง ง. การเรียนรู้แบบบูรณาการ
61. การวิจัยในชั้นเรียนเกี่ยวข้องกับใครมากที่สุด
ก. นักเรียน ข. ครูประจำชั้น
ค. ครูผู้สอน ง. ผู้บริหารโรงเรียน
62. การวิจัยในชั้นเรียนควรใช้การวิจัยในรูปแบบใด
ก. Action Research ข. Classroom Action Research
ค. Survey Research ง. Research and Development
63. R & D หมายถึงข้อใด
ก. Action Research ข. Classroom Action Research
ค. Survey Research ง. Research and Development
64. ขั้นตอนสุดท้ายของ R & D คือข้อใด
ก. การกำหนดเป้าหมายการพัฒนา
ข. การประเมินสภาวะผู้เรียน
ค. การวางแผนกระบวนการดำเนินงานและปรับปรุงพัฒนา
ง. บรรลุเป้าหมาย
65. ข้อใดไม่ใช่ประเภทของปัญหาตาม R & D
ก. ปัญหาเชิงพัฒนา ข. ปัญหาเชิงทดลอง
ค. ปัญหาเชิงป้องกัน ง. ปัญหาเชิงปรับปรุงแก้ไข
66. การประเมินตามสภาพจริงที่เน้นการประเมินภาคปฏิบัติควรประเมินจากสิ่งใด
ก. การสังเกต ข. การสัมภาษณ์
ค. การตรวจผลงาน ง. การใช้แฟ้มสะสมงาน
67. ข้อใดไม่ใช่เครื่องมือของการทดสอบ
ก. แบบวัด ข. แบบสอบถาม
ค. แบบสอบข้อเขียน ง. แบบสอบภาคปฏิบัติ
68. “ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนต่ำเนื่องจากนักเรียนไม่เข้าใจบทเรียน”
ควรออกแบบ การวิจัยเพื่อแก้ปัญหาในลักษณะใด
ก. เชิงทดลองพัฒนาสื่อนวัตกรรม ข. เชิงสำรวจหาสาเหตุปัญหา
ค. เชิงปริมาณอ้างอิงทฤษฎีการเรียนรู้ ง. เชิงปฏิบัติการอบรมพัฒนาการเรียนรู้
69. ข้อใดไม่ใช่การหาคุณภาพของแบบทดสอบ
ก. ความเที่ยงตรง ข. ความเชื่อมั่น
ค. อำนาจจำแนก ง. ความเป็นมาตรฐาน
70. คุณสมบัติของเครื่องมือที่สามารถวัดได้ตามที่ต้องการวัดคือข้อใด
ก. ความเที่ยงตรง ข. ความเชื่อมั่น
ค. อำนาจจำแนก ง. ความยาก
71. ลำดับแรกของหลักการใช้สื่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ คือข้อใด
ก. การเตรียมตัวของผู้สอน ข. การเตรียมความพร้อมตัวของผู้เรียน
ค. การเตรียมจัดสภาพแวดล้อม ง. การใช้สื่อในการเรียนรู้
72. วิธีการสอนแบบใดเป็น นวัตกรรมที่เน้นกิจกรรมการเรียนของผู้เรียน
ก. แบบจุลภาค ข. แบบศูนย์การเรียน
ค. แบบใช้โปรแกรม ง. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
73. ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบของบทเรียน Module
ก. หลักการและเหตุผล ข. จุดประสงค์
ค. การประเมินผลก่อนเรียน ง. การวัดผลประเมินผล
74. คอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นโดยใช้หลักของการวัดเป็นลักษณะของคอมพิวเตอร์แบบใด
ก. อนาลอกคอมพิวเตอร์ ข. ดิจิตอลคอมพิวเตอร์
ค. ไฮบริดคอมพิวเตอร์ ง. ถูกทุกข้อ
75. เรื่องเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา อยู่ในหมวดใดพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
ก. หมวด 5 ข. หมวด 7 ค. หมวด 8 ง. หมวด 9
76. Multi media หมายถึง นวัตกรรมการศึกษาแบบใด
ก. ศูนย์การเรียน ข. ชุดการสอน
ค. บทเรียนโปรแกรม ง. เพลงประกอบการสอน
77. บทเรียนโปรแกรมยึดทฤษฎีจิตวิทยาของใครเป็นหลัก
ก. ทฤษฎีสิ่งเร้าการตอบสนองของธอร์นไดท์ ข. ทฤษฎีลำดับขั้นทางสถิติปัญญาของเพียร์เจต์
ค. ทฤษฎีการเสริมแรงของสกินเนอร์ ง. ข้อ ก และ ค
78. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI (Computer Aided Instruction) มีลักษณะสำคัญ 4 ประการคือข้อใด
ก. 4 - I ข. 4 - M
ค. 4 – O ง. 4 – C
79. ข้อสอบที่ดีควรมีค่าอำนาจจำแนกเท่าใด
ก. ตั้งแต่ 0.10 ขึ้นไป ข. ตั้งแต่ 0.20 ขึ้นไป
ค. ตั้งแต่ 0.30 ขึ้นไป ง. ตั้งแต่ 0.40 ขึ้นไป
80. ลักษณะที่ต้องประเมินว่า “มีหรือไม่มี” หมายถึงเครื่องมือวัดแบบใด
ก. มาตราส่วนประมาณค่า ข. แบบสังเกต
ค. แบบตรวจสอบรายการ ง. การสัมภาษณ์
81. ข้อใดคือองค์ประกอบของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ก. จุดประสงค์การเรียนรู้ ข. กิจกรรมการเรียนการสอน
ค. การวัดและประเมินผล ง. ถูกทุกข้อ
82. กระบวนการกำหนดสถานการณ์ให้บุคคลได้แสดงพฤติกรรมที่ต้องการออกมา เพื่อจะได้วัดและ
สังเกตพฤติกรรมนั้น ๆ หมายถึงข้อใด
ก. การวัดผล ข. การทดสอบ
ค. การประเมินผล ง. การวัดผลและการประเมินผล
83. กระบวนการกำหนดตัวเลขตามกฎเกณฑ์ให้แก่พฤติกรรมที่บุคคลได้แสดงออกมา หมายถึงข้อใด
ก. การวัดผล ข. การทดสอบ
ค. การประเมินผล ง. ถูกทุกข้อ
84. กระบวนการในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการวัดพฤติกรรมของบุคคลเพื่อมาผลมาพิจารณาตัดสิน ประเมินค่า หมายถึงข้อใด
ก. การวัดผล ข. การทดสอบ
ค. การประเมินผล ง. ถูกทุกข้อ
85. ข้อใดคือปรัชญาของการวัดและประเมินผล
ก. เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ข. มุ่งประเมินสมรรถนะมากกว่าความจำ
ค. เพื่อค้นหาและพัฒนาสมรรถภาพของมนุษย์ ง. ถูกทุกข้อ
86. ข้อใดไม่ใช่ปรัชญาของการวัดและประเมิน
ก. เพื่อนำผลไปปรับปรุงการสอนของครู ข. เพื่อตัดสินผลได้ หรือ ตกของผู้เรียน
ค. เพื่อประเมินความสามารถในการสอนของครู ง. จุดประสงค์ควรมุ่งเน้นที่ศักยภาพ
87. องค์ประกอบของการวัดคือข้อใด
ก. สิ่งที่ต้องการวัด ข. เครื่องมือวัด
ค. ผลของการวัด ง. ถูกต้องทุกข้อ
88. การวัดผลต้องสอดคล้องกับข้อใดมากที่สุด
ก. กิจกรรม ข. เนื้อหา
ค. จุดประสงค์ ง. แนวการจัดการศึกษา
89. การวัดผลเพื่อดูระดับความสามารถของแต่ละคนว่าอยู่ในระดับใด ซึ่งทำให้แยกแยะและ
จัดประเภทได้ว่า ใครเก่ง-ใครอ่อน คือความมุ่งหมายของการวัดและประเมินผลตามข้อใด
ก. การวัดเพื่อวินิจฉัย (Placement) ข. การวัดเพื่อจัดอันดับ (Diagnostic)
ค. การวัดผลเพื่อพยากรณ์ (Prodiction) ง. การวัดเพื่อประเมินผล (Evaluation)
90. การวัดเพื่อทราบความสามารถที่ดี ที่กบพร่องที่ต้องแก้ไขของเด็ก ซึ่งจะเป็นประโยชน์
ต่อการปรับปรุงการเรียนการสอน หมายถึงข้อใด
ก. การวัดเพื่อวินิจฉัย (Placement) ข. การวัดเพื่อจัดอันดับ (Diagnostic)
ค. การวัดผลเพื่อพยากรณ์ (Prodiction) ง. การวัดเพื่อประเมินผล (Evaluation)

No comments:

Post a Comment

ได้ข้อมูลแล้ว ก็ช่วยกันคอมเม้นด้วยนะค่ะ